Climate confusion among U.S. teachers

Climate confusion among U.S. teachers

By Sep 22 2020
ILLUSTRATION: P. HUEY/SCIENCESCIENCE EDUCATIONClimate confusion among U.S. teachersTeachers’ knowledge and values can hinder climate educationBy Eric Plutzer,1 Mark
An Economic Case for Acting on Climate

An Economic Case for Acting on Climate

By Sep 22 2020
Harvard University, 27 April 2017 เมื่อคุณอยู่ในบอสตันซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ย 48 องศาเซลเซียส ในตอนกลางคืนหรืออุณหภูมิสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยปกติ 3-4 องศาเซลเซียส คุณก็จะรู้สึกดี แต่หากวันที่มีอุณหภูมิสูงนั้นมีมากถึง 10, 20, 30 วัน ต่อปี อากาศก็จะร้อนเกินกว่าที่จะทำงานข้างนอกได้ ในมุมของนักเศรษฐศาสตร์ เห็นว่าอุณหภูมิที่ร้อนสูงขึ้น นำไปสู่ภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสวัสดิภาพของมนุษย์ ในสหรัฐอเมริกา ในสัปดาห์ที่มีอุณหภูมิมากกว่า 90 องศาฟาเรนไฮต์ ติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้ผลผลิตของโรงงานผลิตรถยนต์ ลดลงร้อยละ 8 และผลผลิตที่ยังไม่ได้ตามเป้า จะต้องรอการผลิตชดเชยเมื่อถึงช่วงวันที่อุณหภูมิไม่ร้อนเกินไป การเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นสิ่งที่ท้าทายมากสำหรับคนรุ่นเรา สิ่งที่พวกเรากำลังทำอยู่คือการวางนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะที่ยาวมาก 50 ถึง 100 ปี ข้างหน้า ซึ่งยังไม่เคยมีนโยบายทำนองนี้มาก่อนในอารยธรรมของมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงและมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งมหาวิทยาลัยฮาร์ดเวิร์ดนั้นได้ตั้งเป้าหมายเพื่องานที่ยากและท้าทายนี้ เผยแพร่โดย Harvard University (www.youtube.com) แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1.       Harvard.University, 2017, Ce6 – an Economic [&
The impact of climate change in Southern Africa

The impact of climate change in Southern Africa

By Sep 22 2020
โลกร้อนเกิดจากการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ในอดีตมหาสมุทรและระบบนิเวศบนบกสามารถปรับตัวกับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นได้ แต่ปัจจุบันมนุษย์เป็นผู้ที่ทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศสูงขึ้น ตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์เผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงาน ซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยสาเหตุคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาล และเป็นเหตุให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ความร่วมมือในระดับนานาชาตินั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกได้ให้เงินสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จากการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยใช้แบบจำลอง พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกนั้นเพิ่มขึ้น 0.8 องศาเซลเซียส แต่อย่างไรก็ตาม ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกากลับมีอุณหภูมิสูงถึง 2 องศาเซลเซียส หรือคิดเป็นประมาณ 2 เท่าของอุณหภูมิมค่าเฉลี่ยโลก ดังนั้นแม้ว่าอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะประสบความสำเร็จในการควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส แต่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกานั้นก็อาจจะไปเชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นถึง 4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรรมและปศุสัตว์ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ไม่สามารถเพาะปลูกข้าวโพด และมะเขือเทศ ซึ่งเป็นพืชอาหารหลักของทวีปแอฟริกาได้ นอกจากนี้ยังขาดแคลนน้ำสำหรับเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ การสนับสนุนและความช่วยเหลือจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกจะช่วยบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตได้ เผยแพร่โดย CSIRNewMedia (www.youtube.com) แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1.       CSIRNewMedia, 2015, Ce5 – the Impact of Climate Change in Southern Africa, [
Can wildlife adapt to climate change?

Can wildlife adapt to climate change?

By Sep 21 2020
TED-Ed, 3 March 2016 การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศเริ่มมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์มากขึ้น มนุษย์รู้จักใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการปรับตัว แต่สำหรับพืชและสัตว์ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงวิวัฒนาการ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพันปีถึงแสนปี ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การปรับตัวของพืชและสัตว์ไม่สามารถวิวัฒนาการเพื่อการปรับตัวได้ทัน พืชและสัตว์หลากหลายสายพันธุ์กำลังตกอยู่ในกระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติเพื่อการอยู่รอด ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาเราเห็นพืชพรรณ สรรพสัตว์ และบรรดาแมลงย้ายที่อยู่ เปลี่ยนแปลงขนาดร่างกายของพวกมัน เปลี่ยนแปลงฤดูกาลออกดอกหรือผสมพันธุ์ แต่ในหลาย ๆ สายพันธุ์ก็ยังคงเดิม ถ้าคุณเดินทางผ่านป่าทางตอนเหนือของยุโรปในฤดูหนาวเมื่อ 30 ปีก่อน คุณจะเคยได้ยิน หรือได้เห็นนกฮูกสีน้ำตาลอ่อนซึ่งเป็นนกหายาก บินโฉบตัดกับฉากหลังที่เต็มไปด้วยหิมะ แต่มันยากมากที่จะมองเห็นตัวมันเพราะขนของมันมีสีอ่อนสามารถพรางตัวในหิมะได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โลกร้อนขึ้นทำให้ปริมาณหิมะน้อยลง นกฮูกได้ปรับสีขนของมันให้เข้มขึ้นเพื่อการพลางตัวในป่า นกฮูกที่มีขนสีอ่อนเริ่มจะสูญหายไป แมงเต่าทองสองจุดเคยมีจำนวนพวกที่มีลักษณะที่มันเงา และไม่เป็นมันเงาเท่า ๆ กัน แต่ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นสีแบบไม่มันเงาทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า นั่นทำให้พวกมันไม่ร้อนเกินไป ในขณะเดียวกัน แซลมอนสีชมพูได้ปรับตัวเข้ากับน้ำที่อุ่นกว่าโดยมีฤดูวางไข่ที่เร็วขึ้น แต่สำหรับพืชและสัตว์อีกหลากหลายสายพันธุ์ต้องพึ่งพามนุษย์ที่จะช่วยพวกมันให้อยู่รอดไปกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง เผยแพร่โดย TED-Ed (www.youtube.com) แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1.       TED-Ed, 2016, Ce4 – Can […]
How you can reduce greenhouse gases

How you can reduce greenhouse gases

By Sep 21 2020
The National, 15 December 2015 แกรม โรเบิร์ตได้ทำสตูว์เนื้อวัวสูตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยส่วนประกอบทั้งหมดที่นำมาใช้ปรุงนั้นมาจากท้องถิ่น เนื้อวัวมาจากวัวที่กินหญ้าตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ได้แนะนำวิธีการสู้กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยการปรับเปลี่ยนวัตถุดิบในการปรุงอาหาร หันมาทานเนื้อน้อยลง เลือกซื้อสินค้าที่ไม่ต้องถูกขนส่งมาไกล โรเบิร์ตได้คำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของอาหารจานนี้ พบว่ามีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์เพียงหนึ่งในสิบของอาหารที่ปรุงปกติ ซึ่งก็น่าจะเป็นวิธีการที่ดีในการช่วยโลกจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แต่อย่างไรก็ตามมีผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า การต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอาจจะไม่จำเป็นต้องให้คนเปลี่ยนแปลงวิถีในการดำเนินชีวิตจากเดิมมากนัก คริส กูเดิล ได้เขียนหนังสือบอกไว้ว่าวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดแก๊สเรือนกระจกคือหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเครื่องบิน นอกจากนี้การประหยัดพลังงานไฟฟ้าก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ และได้ประหยัดเงินค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไปด้วย ในแคนาดา การผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่มาจากพลังงานน้ำและนิวเคลียร์ ซึ่งคนแคนาดาส่วนใหญ่จะเน้นไปที่มาตรการลดการใช้เครื่องทำความร้อนในบ้าน การเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเขาและภรรยาได้ขายรถยนต์ทั้งสองคัน และหันมาเช่าขับเป็นครั้งคราว โดยส่วนใหญ่จะขี่จักรยานเป็นหลัก การเปลี่ยนวิธีการเดินทางเป็นหนึ่งในมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เผยแพร่โดย The National (www.youtube.com) แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1.       The.National, 2015, Ce3 – How You Can
Australia’s greenhouse gas emissions are rising

Australia’s greenhouse gas emissions are rising

By Sep 21 2020
Dr. Andrew Watkins, 22 December 2016 การปล่อยแก๊สเรือนกระจกของประเทศออสเตรเลียที่กำลังเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ข้อมูลสภาวะอากาศของประเทศออสเตรเลียแสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ปี ค. ศ. 2017 พบว่ามี คลื่นความร้อนจากไฟไหม้ป่าและพายุ แต่ยังไม่พบพายุไซโคลน ในช่วง 3 เดือนแรกของปีสภาพอากาศจะแห้งแล้งและร้อนขึ้น เริ่มตั้งแต่ต้นปีโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกของออสเตรเลียจะมีโอกาสที่จะเกิดไฟไหม้ป่า สำหรับฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิภายหลังจากผ่านช่วงที่แห้งแล้งมา ภาคตะวันออกของออสเตรเลียจะมีโอกาสเกิดน้ำท่วม ซึ่งสถานการณ์คล้ายกับที่เกิดในทัสมาเนีย ซึ่งมีความแห้งแล้งตลอดระยะเวลายาวนานถึง 7 เดือน และตามมาด้วย ฝนตกชุกอีก 7 เดือน อย่างไรก็ตามการเกิดฝนก็จะช่วยให้มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้มากขึ้น กรมวิชาการเกษตรได้คาดการณ์ว่า จากเหตุการณ์นี้จะทำให้มีผลผลิตการเกษตรเพิ่มมากขึ้น สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้เกิดคลื่นความร้อนแผ่เข้าไปในแผ่นดินชั้นในทวีป โดยเฉพาะรัฐควีนส์แลนด์และนิวเซาท์เวลส์อาจจะเกิดไฟไหม้ป่าในทางตอนใต้ของรัฐได้ นอกจากนี้จะส่งผลให้ทางตะวันตกเฉียงเหนือมีปริมาณฝนตกเพิ่มขึ้นและอาจเกิดพายุไซโคลน กล่าวโดยสรุปในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 2017 จะมีปริมาณฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในขณะที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลียตะวันตกจะมีปริมาณฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ย เผยแพร่โดย  Lethal Heating (www.youtube.com) แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1.       Watkins, A., 2016, Ce2 – Australia’
1 5 6 7 8 9