Can wildlife adapt to climate change?

TED-Ed, 3 March 2016

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศเริ่มมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์มากขึ้น มนุษย์รู้จักใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการปรับตัว แต่สำหรับพืชและสัตว์ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงวิวัฒนาการ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพันปีถึงแสนปี ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การปรับตัวของพืชและสัตว์ไม่สามารถวิวัฒนาการเพื่อการปรับตัวได้ทัน พืชและสัตว์หลากหลายสายพันธุ์กำลังตกอยู่ในกระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติเพื่อการอยู่รอด ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาเราเห็นพืชพรรณ สรรพสัตว์ และบรรดาแมลงย้ายที่อยู่ เปลี่ยนแปลงขนาดร่างกายของพวกมัน เปลี่ยนแปลงฤดูกาลออกดอกหรือผสมพันธุ์ แต่ในหลาย ๆ สายพันธุ์ก็ยังคงเดิม ถ้าคุณเดินทางผ่านป่าทางตอนเหนือของยุโรปในฤดูหนาวเมื่อ 30 ปีก่อน คุณจะเคยได้ยิน หรือได้เห็นนกฮูกสีน้ำตาลอ่อนซึ่งเป็นนกหายาก บินโฉบตัดกับฉากหลังที่เต็มไปด้วยหิมะ แต่มันยากมากที่จะมองเห็นตัวมันเพราะขนของมันมีสีอ่อนสามารถพรางตัวในหิมะได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โลกร้อนขึ้นทำให้ปริมาณหิมะน้อยลง นกฮูกได้ปรับสีขนของมันให้เข้มขึ้นเพื่อการพลางตัวในป่า นกฮูกที่มีขนสีอ่อนเริ่มจะสูญหายไป แมงเต่าทองสองจุดเคยมีจำนวนพวกที่มีลักษณะที่มันเงา และไม่เป็นมันเงาเท่า ๆ กัน แต่ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นสีแบบไม่มันเงาทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า นั่นทำให้พวกมันไม่ร้อนเกินไป ในขณะเดียวกัน แซลมอนสีชมพูได้ปรับตัวเข้ากับน้ำที่อุ่นกว่าโดยมีฤดูวางไข่ที่เร็วขึ้น แต่สำหรับพืชและสัตว์อีกหลากหลายสายพันธุ์ต้องพึ่งพามนุษย์ที่จะช่วยพวกมันให้อยู่รอดไปกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

เผยแพร่โดย TED-Ed

(www.youtube.com)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1.       TED-Ed, 2016, Ce4 – Can Wildlife Adapt to Climate Change?, [online], Available: https://www.youtube.com/watch?v=ZCKRjP_DMII [3 March 2016].

Write a comment

15 − 12 =