โจ ไบเดน นำสหรัฐฯ กลับเข้าร่วมความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน

โจ ไบเดน นำสหรัฐฯ กลับเข้าร่วมความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน

By Feb 02 2021
เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔ นายโจ ไบเดน (โจเซฟ โรบิเนตต์ ไบเดิน จูเนียร์) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ ๔๖ ได้ลงนามในคำสั่งพิเศษ นำสหรัฐฯ กลับเข้าเป็นภาคีในความตกลงปารีส ที่นานาชาติรวมทั้งสหรัฐฯ ได้ลงนามเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๕ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า ไบเดนต้องการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเร่งด่วนตามที่เคยหาเสียงไว้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองถึงการกลับเข้าร่วมความตกลงปารีสของสหรัฐฯ ถือเป็นก้าวสำคัญของคณะบริหารไบเดนในการกลับนโยบายที่ดำเนินมาตลอด ๔ ปีที่ผ่านมา รวมถึงการผลักดันนโยบายสีเขียวต่างๆ และส่งเสริมพลังงานสะอาดเพื่อทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในการออกคำสั่งฉบับใหม่ของประธานาธิบดีไบเดน เป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า สหรัฐฯ พร้อมที่จะร่วมมือกับนานาชาติในการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน และต้องการฟื้นฟูบทบาทความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ ในเรื่องนี้ โดยข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้ชาติต่างๆ พยายามลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายและคาดว่าไบเดนจะสามารถผลักดันแผนเศรษฐกิจมูลค่า ๒ ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อเดินหน้ากระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด ลดการปล่อยคาร์บอนจากโรงไฟฟ้าภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๕ และบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emission) ภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐   ที่มา / แหล่งข้อมูล ..https://thestandard.co/biden-inauguration-us-rejoins-paris-climate-accord/ Post […]
สหรัฐอเมริกากำหนดให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวาระที่ต้องดำเนินการทันที

สหรัฐอเมริกากำหนดให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวาระที่ต้องดำเนินการทันที

By Feb 02 2021
ในฐานะที่เป็นผู้ปล่อยคาร์บอนสูงสุดลำดับที่สองของโลก สหรัฐอเมริกาได้ลงนามกลับเข้าสู่ข้อตกลงปารีสในวันแรกของการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวาระที่ต้องดำเนินการทันทีเช่นเดียวกับสถานการณ์ COVID-19 ความเท่าเทียมทางเชื้อชาติ เศรษฐกิจ สุขภาพ การตรวจคนเข้าเมือง และการนำอเมริกากลับสู่จุดยืนเดิมในระดับโลก นายโจ ไบเดนวางแผนมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ของประเทศในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ หรือเร็วกว่านั้น และตั้งทีมงานด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประกอบด้วยผู้นำระดับสูง ๗ ท่านที่มีประสบการณ์ด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศ แม้นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหรัฐอเมริกายังไม่ถูกเปิดเผย อย่างไรก็ตามการดำเนินงานบริหารสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นกำหนดการของประเทศสหรัฐอเมริกามีดังนี้ กำหนดข้อจำกัดมลภาวะของมีเทนสำหรับการดำเนินงานใหม่ด้านน้ำมันและก๊าซ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลกลางเพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานบริสุทธิ์และยานพาหนะที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศโดยใช้อำนาจด้านการซื้อและระบบห่วงโซ่อุปทาน ลดการปล่อยคาร์บอนจากภาคการขนส่งโดยการมุ่งเป้าในการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ลดการใช้เชื้อเพลิงเหลวในอนาคตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพที่ก้าวหน้า กำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าและอาคารใหม่ กำหนดให้มีการประเมินผลของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการลงทุนด้านโครงสร้างของรัฐบาล กำหนดให้บริษัทเอกชนมีการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศในกระบวนการทำงานและระบบห่วงโซ่อุปทาน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรของชาติโดยการ อนุรักษ์พื้นดินและน้ำ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ผลักดันการปลูกป่าทดแทน และพัฒนาพลังงานทดแทนในพื้นที่ดินและน้ำของรัฐ การดำเนินงานบริหารที่กล่าวมานั้นถือเป็นกำหนดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามการปล่อยคาร์บอนของสหรัฐอเมริกาถือเป็นเพียงแค่ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยคาร์บอนของมนุษยชาติในปัจจุบัน ดังนั้นการสร้างอนาคตที่น่าอยู่ด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนและการใช้พลังงานบริสุทธิ์จึงไม่ใช่หน้าที่ของประเทศผู้นำโลกเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการความร่วมมือของทุกประเทศเพราะว่าการดำเนินงานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภารกิจของโลก   ที่มา / แหล่งข้อมูล https://www.whitehouse.gov/priorities/ https://www.scientificamerican.com/article/here-are-all-the-climate-actions-biden-took-on-day-one/ https://www.vox.com/21549521/climate-change-senate-election-joe-biden […]
ประเด็นสำคัญจากการสัมมนา “Climate Dialogue 2020: Monitoring and Evaluation Capacity Building”

ประเด็นสำคัญจากการสัมมนา “Climate Dialogue 2020: Monitoring and Evaluation Capacity Building”

By Jan 07 2021
“การพัฒนาศักยภาพ” เป็นพื้นฐานสำคัญในการที่จะทำให้แต่ละประเทศสามารถบรรลุข้อตกลงปารีส หรือ Paris Agreement ได้ และมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Nationally Determined Contribution: NDC) เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการพัฒนาศักยภาพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ที่มีกิจกรรมด้านการพัฒนาศักยภาพจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบและประเมินผลได้อย่างเหมาะสม การติดตามประเมินผลโครงการด้านการพัฒนาศักยภาพจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมนั้นๆ ผ่านการวางแผนที่ดีและเหมาะสม มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้น การสัมมนาในหัวข้อ “Monitoring and Evaluation Capacity Building” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน UN Climate Change Dialogues 2020 หรือ Climate Dialogue ซึ่งจัดขึ้นในระบบออนไลน์ เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา โดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ United Nations Framework
Green Hydrogen – พลังงานที่ปราศจากคาร์บอน

Green Hydrogen – พลังงานที่ปราศจากคาร์บอน

By Jan 07 2021
Hydrogen พลังงานสะอาดที่สามารถเผาไหม้โดยไม่มีการปล่อยคาร์บอน และยังเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนโดยสามารถแยก Hydrogen ได้จากน้ำ (H2O) ด้วยกระบวนการ Electrolysis โดยแยกอะตอมของ Hydrogen ออกจากโมเลกุลของ Oxygen Green Hydrogen ทำขึ้นมาอย่างไร องค์ประกอบของกระบวนการ Electrolysis ต้องการ น้ำ เครื่อง Electrolyzer และกระแสไฟฟ้า ซึ่งหากกระแสไฟฟ้านั้นมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ดังนั้น Hydrogen ที่ผลิตได้จึงเรียกว่าเป็น Green Hydrogen แต่อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิต Green Hydrogen เป็นเพียง ๑% ของปริมาณการผลิต Hydrogen ที่ผลิตขึ้นในแต่ละปี เนื่องจากกระบวนการ Electrolysis มีราคาแพงดังนั้นตลาดของเครื่อง Electrolyzers จึงเล็กมาก เมื่อเทียบกับกระบวนการทางอุตสาหกรรมอื่นๆ การใช้งาน Green
CCUS เทคโนโลยีที่กำลังเติบโตเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

CCUS เทคโนโลยีที่กำลังเติบโตเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

By Jan 07 2021
เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS)  เป็นเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และนำมากักเก็บภายใต้พื้นดินหรือใช้ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมอื่นๆ แนวคิดนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ครั้งแรกในด้านการผลิตน้ำมันในขั้นตอนที่เรียกว่า “การสูบน้ำมันแบบก้าวหน้า” (Enhanced oil recovery : EOR) ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๐ เนื่องจาก CCUS เป็นเทคโนโลยีที่มีราคาสูงสำหรับการนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม การลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าวจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม CCUS ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการลดคาร์บอนและเริ่มได้รับการสนใจเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๗ จากการวางเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและแรงจูงใจด้านการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นจากทั่วโลก อีกทั้ง CCUS ยังถือเป็นหนึ่งในห้าวิธีการหลักในการเปลี่ยนถ่ายสู่พลังงานสะอาดสำหรับประเทศจีน นอกจากนี้เพื่อการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เทคโนโลยี CCUS สามารถตอบสนองได้ด้วยคุณค่าด้านกลยุทธ์ที่โดดเด่นอันประกอบด้วย โรงงานผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งสามารถปล่อย CO2 ๘ พันล้านตัน ในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ สามารถทำการติดตั้ง CCUS ได้ CCUS สามารถประยุกต์ใช้ได้ในภาคการผลิตที่หลากหลาย ขณะที่เทคโนโลยีอื่นๆ มีความจำกัด CCUS […]
ครั้งแรกกับภาพถ่ายดาวเทียมตรวจวัดก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศ

ครั้งแรกกับภาพถ่ายดาวเทียมตรวจวัดก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศ

By Dec 30 2020
เป็นที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญอันดับสองในชั้นบรรยากาศ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือก๊าซมีเทนสามารถดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ๓๐ เท่าของปริมาณที่ใกล้เคียงกันและมีส่วนทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเป็นอย่างมาก ในขณะที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น แต่ก็มีงานวิจัยใหม่จากนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เรากลับไม่ได้คำนึงถึงการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของก๊าซมีเทนมากเท่าที่ควร ซึ่งมีการศึกษาพิสูจน์แล้วว่า การปล่อยก๊าซมีเทนในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ระบบธรรมชาติจะสามารถกักเก็บไว้ได้ ดังนั้นในปัจจุบันทั้งรัฐบาลภาครัฐและเอกชนในหลายประเทศจึงพยายามพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อติดตามก๊าซมีเทนได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ด้วยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมให้สามารถค้นหาแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซบนโลกนี้ได้ บริษัท GHGSat ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศแคนาดาเป็นบริษัทแรกที่สามารถถ่ายภาพจากดาวเทียมเพื่อตรวจจับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งรวมข้อมูลจากดาวเทียมตรวจจับก๊าซมีเทนขนาดเล็กสองลำโดยความร่วมมือจาก Sentinel-5P ของ European Space Agency และ EU GHGSat ได้สร้างเว็บไซต์สำหรับประชาชนทั่วไปในการตรวจสอบการปล่อยก๊าซมีเทนแบบโต้ตอบแบบเรียลไทม์ที่ https://pulse.ghgsat.com/ ซึ่งจะมีการอัปเดตทุกสัปดาห์ การถ่ายภาพผ่านดาวเทียมเป็นเครื่องมือที่ดีในการช่วยให้เราประยุกต์ใช้และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทน และนอกจากนี้หน่วยงานของรัฐยังสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจและพัฒนานโยบายใหม่ในการลดก๊าซเรือนกระจกและพลังงานในอนาคต       ที่มา/แหล่งข้อมูล GHGSat Website: https://www.ghgsat.
1 5 6 7 8