ทิศทางสู่การลดการใช้พลังงานถ่านหินในระดับโลก

ทิศทางสู่การลดการใช้พลังงานถ่านหินในระดับโลก

By Oct 20 2021
  Third Generation Environmentalism (E3G) องค์กรอิสระด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหราชอาณาจักร ได้เผยแพร่รายงานวิจัยเกี่ยวกับการยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ โดยในรายงานระบุว่าในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินทั่วโลกลดลงถึง ร้อยละ 76 Leo Roberts ผู้จัดการฝ่ายวิจัยของ E3G กล่าวว่า “ปัจจุบันมีจำนวน 41 ประเทศ ที่มีความพร้อมในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ได้” ซึ่งสหราชอาณาจักรได้รับการยอมรับในการเป็นประเทศผู้นำ เพื่อมุ่งสู่ประเทศที่ปราศจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และมีส่วนช่วยในการสนับสนุนให้ทั่วโลกยุติการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน โดยรายงานของ E3G เน้นย้ำว่า ในปี ค.ศ. 2017 สหราชอาณาจักรและแคนาดาได้ร่วมกันจัดตั้ง Powering Past Coal Alliance (PPCA) ร่วมกับประเทศสมาชิก โดยมีเป้าหมายที่จะยุติโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ และยุติการจัดหาเงินทุนสนับสนุนสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน นอกจากนี้สหราชอาณาจักรยังมีความมุ่งมั่นที่จะยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศทั้งหมด ภายในปี ค.ศ. 2024       ที่มา/แหล่งข้อมูล
รายงาน United in Science 2021 กระตุ้นสู่การประกาศพันธสัญญาการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

รายงาน United in Science 2021 กระตุ้นสู่การประกาศพันธสัญญาการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

By Oct 20 2021
  ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้รายงานผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภูมิอากาศ (Climate Science) ฉบับล่าสุด โดยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชี้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) โลกไม่ได้กลับมาเติบโตในแนวทางสีเขียวแต่อย่างใด แม้จะมีการลดลงชั่วคราวของการปล่อย CO2 แต่ปัจจุบันการปล่อย CO2 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและปริมาณ CO2 ในชั้นบรรยากาศกลายเป็นสถิติสูงสุดครั้งใหม่ อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยทั่วโลกในช่วงปี พ.ศ. 2560-2564 นับเป็นช่วงที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์โดยเฉลี่ยประมาณ 1.06 ถึง 1.26 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของระบบสภาพภูมิอากาศที่ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตลอดหลายศตวรรษถึงหลายพันปีที่ผ่านมา เรากำลังเผชิญกับภาวะอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดของโลกในรอบ 5 ปี และในช่วง 5 ปี ต่อจากนี้ โอกาสที่อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม มีสูงถึง 40% ซึ่งส่งผลให้ภัยพิบัติต่างๆ ประกอบด้วย ความร้อนสูง ความแห้งแล้ง ฝนตกหนัก และน้ำท่วม มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น อันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกไปอีกกว่าร้อยปี หลักฐานเพิ่มเติมของการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในปัจจุบัน ได้แก่ น้ำท่วมใน […]
รายงาน IPCC ของสหประชาชาติเตือนภาวะโลกร้อนวิกฤติเร็วกว่าที่คิด

รายงาน IPCC ของสหประชาชาติเตือนภาวะโลกร้อนวิกฤติเร็วกว่าที่คิด

By Sep 17 2021
  คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (IPCC) ได้เผยแพร่รายงานประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 6 (The Sixth Assessment Report : AR6) ก่อนการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ รายงาน IPCC ระบุว่า สาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกปัจจุบันสูงขึ้นกว่า 1.1C เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และอาจจะทำให้การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในกรณี 1.5 C เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมนั้น เกิดขึ้นเร็วกว่าที่กำหนดไว้ โดยประเด็นสำคัญของรายงาน IPCC มีดังนี้ 1. อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยทั่วโลกระหว่างปี 2011-2020 สูงถึง 1.09C ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม หรือระหว่างปี ค.ศ. 1850-1900 2. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงที่สุด เมื่อเทียบกับที่เคยบันทึกไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850 3. ระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน เพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เท่า […]
โตเกียวโอลิมปิก และ พาราลิมปิก มหกรรมกีฬารักษ์โลก

โตเกียวโอลิมปิก และ พาราลิมปิก มหกรรมกีฬารักษ์โลก

By Sep 01 2021
  เป็นที่ทราบกันดีว่ามหกรรมกีฬาโอลิมปิก และ พาราลิมปิก คือมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่เป็นการรวบรวมกองทัพนักกีฬา กรรมการ เจ้าหน้าที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาสาสมัครจากทุกมุมโลกมากกว่า 1 แสนคนนอกจากนี้ยังทำให้เกิดการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ๆ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไปจนถึงการคมนาคมที่จะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรเป็นอย่างมาก การจัดการแข่งขันโอลิมปิก เกมส์ ระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม – 8 สิงหาคมที่ผ่านมาและพาราลิมปิกเกมส์ ที่อยู่ระหว่างการแข่งขันระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม – 5 กันยายน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกที่นอกจากจะมีเป้าหมายด้านการกีฬาแล้วยังมีเป้าหมายที่สอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Development Goals ภายใต้แนวคิด “Be better, together – for the planet and the people” โดยชูประเด็นการสร้างสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green society   ขณะที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 จนทำให้ต้องเลื่อนการจัดการแข่งขันจากปีที่แล้วมาเป็นช่วงกลางปี 2021 ทั้งยังต้องเผชิญกับเสียงของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยในการจัดงานจากความกังวลเรื่องการระบาดของเชื้อโควิด-19 รวมถึงการใช้งบประมาณของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพภายใต้แรงกดดันว่าสามารถจัดงานได้อย่างมีมาตรฐาน […]
รัฐบาลอังกฤษห้ามจำหน่ายรถบรรทุก (HGV) ที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเบนซิน หลังปี 2040

รัฐบาลอังกฤษห้ามจำหน่ายรถบรรทุก (HGV) ที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเบนซิน หลังปี 2040

By Aug 03 2021
รัฐบาลอังกฤษประกาศแผนห้ามจำหน่ายรถบรรทุก (HGV) ที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเบนซิน หลังปี ค.ศ. 2040 เพื่อสนับสนุนเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคขนส่ง ซึ่งสมาคมการขนส่งทางถนน (Road Haulage Association) ไม่เห็นด้วยกับประกาศดังกล่าว เนื่องจากบริษัทขนส่งหลายแห่ง กังวลเกี่ยวกับต้นทุนของยานพาหนะใหม่ และมูลค่าการขายของยานพาหนะเดิม Greg Archer ผู้อำนวยการ Transport & Environment กล่าวว่า “แผนดังกล่าว เป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบการขนส่งของประเทศอังกฤษให้มีความยั่งยืน การใช้ยานพาหนะ รวมถึงรถบรรทุกที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ เป็นการสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon Emission) ภายในปี ค.ศ. 2050 นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนแผนของรัฐบาลประเทศอังกฤษที่จะผลิตรถยนต์และรถตู้ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ประมาณ 40,000 คัน ภายในปี ค.ศ. 2027” Grant Shapps รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า “แน่นอนว่าแผนดังกล่าว เป็นการตัดสินที่ส่งผลระยะยาวสำหรับกระทรวงการคลัง ซึ่งยังไม่ใช่ประเด็นในตอนนี้ แต่เรากำลังจะดำเนินการประกาศแผนที่ค่อนข้างเร็วกว่ากลุ่มประเทศเศรษฐกิจอื่นๆ เนื่องจากบางประเทศยังไม่มีแผนการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) ในระดับนี้” ที่มา /แหล่งข้อมูล https://news.sky.com/story/
การปลูกต้นไม้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์: ทางเลือกในการมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก

การปลูกต้นไม้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์: ทางเลือกในการมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก

By Aug 03 2021
จากการกำหนดเป้าหมายของความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือความพยายามที่จะไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอุณหภูมิโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งการจะดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จในเป้าหมายดังกล่าวนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน และเป็นที่ทราบกันดีว่าภาคป่าไม้ ถือได้ว่าเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากในการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น การที่จะบรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีสได้นั้น การเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากภาคป่าไม้ จึงเป็นอีกประเด็นสำคัญที่ประชาคมโลกรวมไปถึงประเทศไทยจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน จะเห็นได้ว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมาหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนภาคประชาชน ต่างเร่งผลักดันและส่งเสริมการปลูกป่า เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กันอย่างกว้างขวาง ผ่านโครงการและกิจกรรมปลูกป่าต่างๆ แต่จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในปัจจุบัน ทำให้การลงพื้นที่ปลูกป่าแบบหมู่คณะอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้น การร่วมปลูกต้นไม้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับทุกคนในการมีส่วนร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียว ทั้งยังตอบโจทย์วิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการมีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวมีหลากหลายทั้งในและต่างประเทศ โครงการปลูกต้นไม้และปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน” ที่มีการร่วมปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 55 ล้านต้น และโครงการ “We grow” โดยบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด คือตัวอย่างของแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีในประเทศไทยที่ทุกภาคส่วนสามารถมีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้ผ่านทางเว็บไซด์หรือแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระดับสากล โครงการ “Plant for the Planet” โดย United Nations […]
1 2 3 4 5 6 8