5th CITC Regional Conference Summary
TGO ร่วมกับ JICA จัดการประชุมสัมมนาระดับภูมิภาค ในระบบออนไลน์ ในหัวข้อ Virtual talks on the climate crisis: Call for collaborative leadership “Build Back Better Together” in Southeast Asia
Climate Clock นาฬิกาสภาพภูมิอากาศ นับถอยหลังสู่วิกฤติโลก
นับตั้งแต่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นวันที่ความตกลงปารีส (Paris Agreement) มีผลบังคับใช้ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ทำให้นานาประเทศมีเป้าหมายร่วมกันที่จะควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เพิ่มเกินกว่า ๒ องศาเซลเซียส แต่ที่ดีที่สุดคือ ๑.๕ องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าเราทำไม่สำเร็จ นั่นหมายถึงทุกชีวิตบนโลกจะเข้าสู่ภาวะวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ (Point of No Return) และสถานการณ์จะรุนแรงกว่าที่เราเผชิญอยู่ในตอนนี้หลายเท่าตัว นั่นคือ โลกของเรามีเวลาจำกัดสำหรับการแก้ไขปัญหานี้ ก่อนจะสายเกินไป สิ่งที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงขึ้นก็คือก๊าซเรือนกระจก หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทุกคนคุ้นหูกันมากกว่า โดยเฉพาะในช่วงของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมก๊าซเหล่านี้ที่ถูกปล่อยออกมาอย่างมหาศาลและขึ้นไปสะสมจนทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น หรือ เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น หากเราต้องการจัดการที่สาเหตุของปัญหานี้ ก็คือ เราต้องจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งการควบคุมหรือจำกัดปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่สามารถปล่อยได้ และเรียกว่า “Carbon Budget” และหากเรายังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเกิน Carbon Budget จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงเกิน ๑.๕ องศา หรือ ๒ องศา นั่นคือเราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของ ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ได้นั่นเอง ในปี […]
โลกร้อน จะทำให้ชายหาดกว่าครึ่งในโลกจมหายไป ภายในปี 2100
……….วารสาร Nature Climate Change เผยแพร่งานวิจัยเรื่อง “Sandy coastlines under threat of erosion” ที่กล่าวถึงผลกระทบของปัญหาโลกร้อนต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลที่อาจส่งผลให้ชายหาดมากกว่าครึ่งโลกจมหายไปภายในปี 2100 ถึงแม้ว่ามนุษยชาติพยายามลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในการก่อภาวะโลกร้อน แต่ชายหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวประมาณหนึ่งในสามของโลกอาจยังคงจมหายไปเนื่องจากภาวะโลกร้อนอยู่ดี โดยประเทศที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ออสเตรเลีย เนื่องจากมีชายหาดความยาวเกือบ 15,000 กิโลเมตร ซึ่งในอีก 80 ปีชายหาดของหลายๆ ประเทศ เช่น แคนาดา ชิลี สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก จีน รัสเซีย อาร์เจนตินา อินเดียและบราซิล จะจมหายไปด้วย ซึ่งหนึ่งในสามของชายหาดที่อาจจมหายไปเหล่านี้ นอกจากจะเป็นบริเวณที่มีมนุษย์อาศัยอยู่อย่างหนาแน่นแล้วยังเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย ……….ทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษาโดยใช้แบบจำลองเพื่อคาดการณ์โดยใช้แบบจำลอง RCP 8.5 และ RCP 4.5 (RCP ย่อมาจาก Representative Concentration Pathways คือ แบบจำลองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต ระหว่าง ค.ศ. 2006 – 2300) […]