ผลกระทบของอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อวงการกีฬา

ผลกระทบของอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อวงการกีฬา

By Jul 16 2021
สภาพภูมิอากาศถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อวงการกีฬา ทั้งในแง่ของการจัดแข่งขันกีฬาที่ต้องอาศัยสภาพอากาศเป็นหลัก เช่น การจัดโอลิมปิกฤดูหนาว  หากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ในการจัดแข่งขัน และส่งผลต่อการฝึกซ้อมของนักกีฬาได้ ฤดูร้อนที่ยาวนานและร้อนขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการฝึกซ้อมของร่างกายนักกีฬาโดยตรงหากไม่มีแผนในการตั้งรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง การแข่งขันกีฬาคงเป็นเหมือนอย่างที่นักวิ่งอาชีพชาวอเมริกัน JOAN BENOIT SAMUELSON กล่าวไว้ว่า “When I’m out running I feel like I’m an environmental barometer for climate change.” องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าอุณหภูมิและความร้อนที่สูงขึ้นมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจากสาเหตุดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 38,000 รายต่อปี ทั่วโลกระหว่างปี 2573 ถึง 2593 เนื่องจากโรคลมแดด (Heat
กระทรวงพลังงานของอินโดนีเซีย ตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนอย่างน้อย 48% ในแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ในปี ค.ศ. 2021-2030

กระทรวงพลังงานของอินโดนีเซีย ตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนอย่างน้อย 48% ในแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ในปี ค.ศ. 2021-2030

By Jul 16 2021
ประเทศอินโดนีเซียตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนใน The National Electricity Supply Plan (RUPTL) หรือแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าของอินโดนีเซีย ปี ค.ศ​. 2021-2030 เป็นอย่างน้อย 48% จาก 30% ในแผนปี ค.ศ​. 2019-2028 ซึ่งแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าของอินโดนีเซีย (RUPTL) เป็นแนวทางนโยบายของรัฐบาลประเทศอินโดนีเซีย ในด้านพลังงานระยะ 10 ปี ซึ่งแผนดังกล่าวนั้น มีการปรับปรุงอยู่เสมอ Rida Mulyana อธิบดีกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ของกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ต้องการให้แผนกำลังการผลิตไฟฟ้าของอินโดนีเซีย (RUPTL) นั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หมายความว่าสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนจะมากขึ้น โดยภายใต้แผนใหม่นี้จะเปลี่ยนโรงไฟฟ้าปัจจุบันให้เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รวมถึงจะปลดระวางโรงผลิตไฟฟ้าถ่านหินเก่า เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2060 นอกจากนี้ Rida Mulyana กล่าวว่า ประเทศอินโดนีเซียมีแผนการผลิตพลังงานให้สามารถรองรับความต้องการพลังงานที่จะเพิ่มขึ้น ลดการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเปลี่ยนเป็นพลังงานหมุนเวียนแทน       ที่มา /แหล่งข้อมูล https://www.reuters.
ทส. TGO ผนึกกำลังกับ UNDP และ สถ.  เสนอผลงานการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน

ทส. TGO ผนึกกำลังกับ UNDP และ สถ. เสนอผลงานการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน

By Jul 14 2021
กรุงเทพฯ (21-22 มิถุนายน 2564) : องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก หรือ GEF และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย หรือ UNDP ร่วมกันจัดงานสัมมนาและเผยแพร่แนวคิด “เมืองคาร์บอนต่ำ สุขอาศัยอย่างยั่งยืน” (Sustainable & Livable Low-carbon Cities) ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอพลิเคชั่น Zoom และ Live streaming ผ่าน Page PPTV HD 36, Facebook องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และ CITC Society ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00-12.00 น. เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ เพื่อขยายผลและต่อยอดสู่การเป็นเมืองและสังคมคาร์บอนต่ำต่อไป ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เยาวชน รวมถึงประชาชนที่สนใจมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการมุ่งสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ สัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม [&
การเสวนาในหัวข้อ “South-South Cooperation on Enhancing NDCs in the Southeast Asia Region.”

การเสวนาในหัวข้อ “South-South Cooperation on Enhancing NDCs in the Southeast Asia Region.”

By Jul 14 2021
การเสวนาในหัวข้อ “South-South Cooperation on Enhancing NDCs in the Southeast Asia Region.” โดยประเด็นสำคัญในการเสวนานั้นเกี่ยวข้องกับความร่วมมือใต้-ใต้ ในประเด็นเกี่ยวกับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น บทบาทขององค์กรระดับนานาชาติ และภูมิภาคในการส่งเสริมให้เกิดการนำเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ การร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ไปจนถึงการแลกเปลี่ยนบทเรียนจากการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับประเทศในภูมิภาคนี้ กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้แทนองค์กรร่วมจัด 3 องค์กร กล่าวเปิดงานได้แก่ Mr. Adel Abdellatif, UNOSSC Director a.i., Mr. Morita
การเสวนาในหัวข้อ Livable Design : สร้างสรรค์เมืองน่าอยู่

การเสวนาในหัวข้อ Livable Design : สร้างสรรค์เมืองน่าอยู่

By Jul 14 2021
การเสวนาในหัวข้อ Livable Design : สร้างสรรค์เมืองน่าอยู่ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองในการสร้างสรรค์เมืองน่าอยู่ควบคู่กับการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ในระบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom และ Facebook Live กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานสัมนาและเผยแพร่แนวคิด “เมืองคาร์บอนต่ำ สุขอาศัยอย่างยั่งยืน” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2564     Post Views: 677 FacebookFacebookXTwitterLINELine
ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมของการใช้เงินสกุลดิจิตอล

ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมของการใช้เงินสกุลดิจิตอล

By Jun 09 2021
ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีการเจริญเติบโตของเงินสกุลเงินในรูปแบบดิจิทัล หรือ Cryptocurrency  “บิทคอยน์” เป็นสกุลเงินดิจิทัลแรกที่เกิดขึ้นและยังเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในตลาดซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล จึงมีนักลงทุนหลายคนเริ่มเห็นโอกาสในการทำกำไร ซึ่งการลงทุนในบิทคอยน์มีหลากหลายวิธีตั้งแต่การซื้อขายในตลาดซื้อ-ขายสกุลเงินดิจิทัลรวมไปถึงวิธีการขุดซึ่งอาจจะดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีที่มีต้นทุนการลงทุนที่ต่ำกว่า การขุดคอยน์ก็คล้ายกับการที่เราเข้าไปขุดแร่ในเหมืองแต่เปลี่ยนรูปแบบมาทำในระบบคอมพิวเตอร์แทน ถึงแม้ความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าสกุลเงินดิจิทัลจะมีมากเพียงใด แต่ผลประโยชน์และผลกำไรจากการลงทุนในเงินสกุลดิจิตอลที่ถูกมองว่าคุ้มค่าที่ลงทุน แรงจูงใจจากผลประโยชน์ให้เกิดการลงทุนในคอมพิวเตอร์พร้อมระบบทำความเย็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในกระบวนการทำเหมืองเงินสกุลดิจิตอล (Cryptocurrencies mining) แม้กระทั้ง เทสลา บริษัทด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ เน้นด้านการพัฒนาเทคโนโลยีแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ได้เปิดเผยข้อมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ว่า บริษัทได้ลงทุนด้วยเงินมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเงินดิจิตอลสกุล บิทคอยน์ และได้เปิดรับการชำระค่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทด้วยเงินดิจิตอลสกุลบิทคอยน์ อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2564 อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งบริษัท เทสลา ก็ได้ออกมาเปิดเผยผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ทวิตเตอร์ ว่า   “เทสลาได้ระงับการขายยานยนต์ของบริษัทด้วยเงินดิจิตอลสกุล บิทคอยน์” เนื่องจากเขามีความกังวลเกี่ยวกับการใช้พลังงานฟอสซิลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสำหรับการทำเหมืองเงินสกุลดิจิตอลและการดำเนินธุรกรรมทางการเงินของเงินสกุลดิจิตอล ตามการเปิดเผยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปริมาณการใช้พลังงานสำหรับการทำเหมืองเงินดิจิตอลสกุลบิทคอยน์ในปัจจุบันคือ 110 เทระวัตต์ ชั่วโมงต่อปี ซึ่งคิดเป็น 0.55 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณการใช้พลังงานของโลก และปริมาณการใช้พลังงานนี้ยังสูงกว่าปริมาณการใช้ พลังงานตลอดปีของหลายประเทศ เช่น อาร์เจนตินา ดังแสดงในรูปภาพที่ 1 อีกทั้ง […]
1 3 4 5 6 7 8