NFT ทำให้โลกร้อนขึ้น?
“NFT” ที่ย่อมาจาก “Non-Fungible Token” หรือ “สินทรัพย์ที่ไม่สามารถทดแทนกันได้” กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักลงทุนงานศิลปะรุ่นใหม่ NFT คือตราสัญลักษณ์ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป ไม่สามารถทำซ้ำ หรือทดแทนกันได้ คล้ายกับของสะสมอย่างภาพวาด ที่หากถูกคัดลอกก็จะสามารถระบุได้ว่าชิ้นไหนคือต้นฉบับ NFT เองก็ทำงานเหมือนกับสกุลเงินดิจิทัล การผลิต การซื้อ ขาย หรือ การทำธุรกรรมก็ต้องผ่านกระบวนการเดียวกันกับคริปโท (Cryptocurrency) ที่อิงกับระบบบล็อกเชน (Blockchain) บนเครือข่าย PoW ซึ่งใหญ่ที่สุดคือ Ethereum เครือข่ายดังกล่าวต้องอาศัยการขุดเหรียญ ซึ่งต้องใช้พลังงานจำนวนมหาศาลและให้ความร้อนในปริมาณมาก เพื่อทำการคำนวณที่ซับซ้อนโดยใช้คอมพิวเตอร์ขั้นสูงและฮาร์ดแวร์การขุดเฉพาะทาง ส่งผลให้การทำธุรกรรมของ NFT เกิดการปล่อยคาร์บอนเช่นกัน จากรายงานจากเดอะนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า การสร้าง NFT โดยเฉลี่ยหนึ่งชิ้น สร้าง “คาร์บอนที่ทำให้โลกร้อนกว่า 200 กิโลกรัม เทียบเท่ากับการขับรถ 500 ไมล์ (804 กิโลเมตร) ด้วยรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินทั่วไปของอเมริกา” แม้ว่า NFT จะยังมีข้อถกเถียงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาภาวะโลกร้อนที่มาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถึงกับมีศิลปินบางคนที่เป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเริ่มย้ายออกจาก NFTs แม้ว่าจะทำให้ต้องเสียรายได้หลายล้านดอลลาร์ก็ตาม ศิลปินเหล่านี้อ้างว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของ NFT […]
การบรรยายในหัวข้อ “ความรู้เบื้องต้นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
โครงการ Chula Carbon Neutrality by ศูนย์ BCGeTEC และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดอบรม 2nd training session ในหัวข้อ “ความรู้เบื้องต้นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ในวันศูกร์ที่ 22 เมษายน 2565 บรรยายโดย คุณธวัชชัย แสงคำสุข ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาศักยภาพและเผยแพร่องค์ความรู้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) การบรรยายได้รวบรวมเนื้อหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่โลกกำลังเผชิญ เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงปัญหาในปัจจุบัน รวมถึงเป็นแนวคิดให้กับผู้ที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขัน Chula Carbon Neutrality Competition รับชมวิดีโอ : คลิกเลย! #chulacarbonneutrality #Chulalongkorn #carbonneutrality #environment #saveourworld #competition CAA Climate
โอลิมปิกฤดูหนาว…กับผลกระทบจากโลกร้อนที่ยากจะหลีกเลี่ยง
มหกรรมกีฬาโอลิมปิก ฤดูหนาว ปักกิ่ง 2022 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 4 – 20 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด “Winter Dream” หรือ “ความฝันแห่งฤดูหนาว” โดยรัฐบาลจีนประกาศว่าจะเป็นมหกรรมกีฬาสีเขียวที่ให้ความสำคัญกับนโยบายพลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โอลิมปิกที่ใช้เทคโนโลยี Carbon Dioxide Trans-Critical Direct Cooling ในการทำน้ำแข็ง ซึ่งลดการใช้พลังงานได้กว่า 40% เมื่อเทียบกับวิธีเดิม ซึ่งเป็นหนึ่งใน 119 มาตรการ ภายใต้ 12 แผนปฏิบัติการตามที่ระบุในแผนความยั่งยืน แม้ว่าพื้นที่ปักกิ่ง จะมีอุณหภูมิเฉลี่ย -1 องศาเซลเซียส แต่กับในพื้นที่ หยานชิ่ง กับ จางเจียวโค่ว แนวภูเขาที่ใช้ในการจัดกีฬาประเภทสกีและสโนว์บอร์ดนั้น ต่างมีหิมะตกตลอดทั้งปีแค่ 5-20 เซนติเมตรเท่านั้น น้อยเกินกว่าจะปกคลุมให้ทั้งภูเขาขาวโพลนขึ้นมาได้ จีนจึงต้องผลิตหิมะขึ้นมาเพื่อให้พื้นที่เหมาะสมกับการแข่งกันกีฬา ซึ่งไม่ใช่โอลิมปิกฤดูหนาวครั้งแรกได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากแต่เราพบว่าอากาศร้อนขึ้น ส่งผลต่อวงการกีฬาในเขตหนาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อให้โอลิมปิกฤดูหนาวยังคงเดินหน้าต่อไปประเทศเจ้าภาพจะต้องมีการวางแผนในการรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยหากย้อนไปเมื่อ ปี 2010 […]
Liquid Marbles: เทคโนโลยีใหม่ของการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์
เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่สามารถช่วยให้ประเทศออสเตรเลีย บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและมลพิษ เป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ได้ ซึ่งเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) คือ การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ที่แหล่งกำเนิด และกักเก็บไว้ใต้ดิน งานวิจัยที่เผยแพร่จาก Nature Communications กล่าวว่า Liquid Marbles มีลักษณะเป็นอนุภาคทรงกลม ขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 มิลลิเมตร และเคลือบด้วยอนุภาคนาโน มีคุณสมบัติป้องกันการไหลออกของของเหลว และมีความยืดหยุ่น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้ในการดักจับก๊าซ ดังนั้น ถือว่าเป็นความท้าทายใหม่สำหรับการวิจัยและการสร้างแบบจำลอง เพื่อศึกษาวัสดุที่ใช้ในการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) สำหรับเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) คุณสมบัติในการทำปฏิกิริยากับก๊าซ ของเหลว และของแข็ง ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญ ซึ่ง Liquid Marbles มีคุณสมบัติดังกล่าว เนื่องจากมีอนุภาคเป็นทรงกลมและมีขนาดเล็ก ทำให้สามารถติดตั้งในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ได้โดยตรง ทำให้เหมาะสมกับกระบวนการดูดซับก๊าซ (Adsorption) ในเครื่องปฏิกรณ์ จากนั้นก๊าซดังกล่าวจะทำปฏิกิริยากับของเหลวภายในเครื่องปฏิกรณ์ เกิดกระบวนการแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Separating) […]
Joe Biden ระงับการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประธานาธิบดี Joe Biden ได้ออกมาตรการระงับสัญญาเช่าที่ดินรัฐฉบับใหม่และใบอนุญาต สำหรับการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของรัฐบาลกลาง โดยการประเมินต้นทุนทางสังคมของการปล่อยคาร์บอน (Social Cost of Carbon Emissions) ซึ่งใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ James Cain ผู้พิพากษาของรัฐลุยเซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การที่ประธานาธิบดี Joe Biden ออกมาตรการระงับสัญญาเช่าที่ดินรัฐฉบับใหม่ และใบอนุญาตสำหรับขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นมาตรการด้านเชื้อเพลิงฟอสซิล ต้องดำเนินการพิจารณาร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกครั้ง เนื่องจากการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อโครงการเช่าที่ดินของรัฐบาลกลาง สำหรับการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ กระทรวงมหาดไทย ของรัฐบาลกลาง ได้ประเมินโครงการเช่าที่ดินของรัฐบาลกลาง ร่วมกับรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการวิเคราะห์ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอน และคาดว่าจะส่งผลให้โครงการเช่าที่ดินของรัฐบาลกลาง สำหรับการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ มีความล่าช้าในดำเนินการขอใบอนุญาต นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Joe Biden ยังคงผลักดันมาตรการ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการดำเนินการ หรือโครงการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทั้งบนพื้นที่ในแผ่นดินและนอกชายฝั่ง รวมถึงการประเมินผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และการปฏิรูปอัตราการเก็บภาษีสำหรับผู้เสียภาษี ที่มา/แหล่งข้อมูล https://cnn.com/2022/02/21/
ประเทศอังกฤษประกาศแผนในการห้ามขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ภายใต้แผนการปฏิวัติอุตสาหกรรมสีเขียว
Boris Johnson นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ประกาศแผนที่จะห้ามขายรถยนต์ และรถตู้ที่ใช้น้ำมันเบนซิน หรือน้ำมันดีเซล แต่ยังคงอนุญาตให้ขายรถยนต์ระบบไฮบริดบางประเภท ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2030 ซึ่งแผนดังกล่าว ถือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industrial Revolution) เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ภายในปี ค.ศ. 2050 Alok Sharma ประธานการประชุม COP26 กล่าวว่า เงินลงทุนเพื่อสนับสนุนแผนดังกล่าว จากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน นอกจากจะเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industrial Revolution) แล้วนั้นยังมีส่วนช่วยในการสร้างงานให้ประชาชนได้จำนวนมาก แผนในการปฏิวัติอุตสาหกรรมสีเขียวของประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย 10 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. สนับสนุนการผลิตพลังงานไฟฟ้า จากกระแสลมในทะเล ให้ได้ประมาณ 40 กิกะวัตต์ ในปี ค.ศ. 2030 และจะช่วยทำให้เกิดการจ้างงานได้ถึง 60,000 ตำแหน่ง 2. กำลังการผลิตจาก Hydrogen โดยมุ่งเป้าให้มีกำลังการผลิตให้ได้ […]