ความแตกต่างระหว่าง คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) กับ สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Allowance)
#คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) กับ #สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Allowance) ต่างกันอย่างไร?? บทความโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หลายคนอาจยังสับสนระหว่างคำว่า “คาร์บอนเครดิต” และ “สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ว่ามันต่างกันอย่างไร ซึ่งทั้ง 2 คำนี้ถือเป็นสิ่งที่สามารถนำไปซื้อขายในตลาดคาร์บอนได้ทั้งคู่ แต่การได้มาซึ่งสินค้าที่เราเรียกว่าคาร์บอนเครดิตหรือสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีกระบวนการขั้นตอนแตกต่างกัน วัตถุประสงค์ในการใช้ก็ไม่เหมือนกัน ราคาซื้อขายจะไม่เท่ากัน เช่น ราคาสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Allowance ภายใต้ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหภาพยุโรป (EU-ETS) ราคาในเดือนมิ.ย. 2566 อยู่ระหว่าง 80-90 ยูโร/tCO2eq โดยเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 66 ราคาขึ้นไปแตะสูงสุดอยู่ที่ 92.82 ยูโรต่อตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าหรือต่อ 1 Allowance (ที่มา: European Energy Exchange AG (eex), CarbonPulse CME Group) ส่วนราคาคาร์บอนเครดิตจากตลาดภาคสมัครใจในต่างประเทศ เช่น โครงการภาคป่าไม้ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 5.80 US$/tCO2eq [&
ความแตกต่างระหว่างคาร์บอนเครดิต กับ ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (RECs)
คาร์บอนเครดิต กับ ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (RECs) …แตกต่างกันอย่างไร ?…. สำหรับการนำไปชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร . ปัจจุบัน ยังเกิดความสับสนในเรื่องการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Offsets) โดยใช้คาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ กับ Renewable Energy Certificates (RECs) อยู่เป็นวงกว้าง อย่างไรก็ตาม แนวทางทั้งสองจะมีต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ องค์กรที่ต้องการจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีทางเลือกที่จะลดผลกระทบที่หลากหลายกิจกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม เช่น มาตรการประหยัดพลังงาน มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน รวมถึงการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งหากทราบถึงความแตกต่างดังกล่าวจะเป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจว่าทางเลือกทั้งสองสิ่งมีประโยชน์ต่อองค์กรของท่านอย่างไร . “คาร์บอนเครดิต” คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกหรือมาตรฐานการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น CDM, T-VER, VCS, GS โดยมีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) และสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินงานไปรายงานหรือเปิดเผยข้อมูล การนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคล งานบริการ หรือจากการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ . “ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน” (REC) คือ กลไกที่ช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ด้วยการรับรองจากหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของกลไก ช่วยสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนผ่านการซื้อและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยมีหน่วยการซื้อขายคือ […]
สถานการณ์การซื้อขายคาร์บอนเครดิตเดือน ม.ค. – ก.พ.
สถานการณ์การซื้อขายคาร์บอนเครดิตเดือน ม.ค. – ก.พ. . เริ่มปีพ.ศ. 2566 ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตของโครงการ T-VER ในรูปแบบการซื้อขายที่ไม่ผ่านตลาดทางการ หรือ Over-the-Counter (OTC) เริ่มคึกคักมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยปริมาณและมูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตใน 2 เดือนแรกของปีพ.ศ. 2566 เติบโตมากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2565 โดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่ 20-218 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า . สำหรับโครงการ T-VER ที่ผู้ซื้อให้ความสนใจและซื้อไปเพื่อใช้ชดเชยยังคงเป็นโครงการประเภทพลังงานทดแทน เช่น แสงอาทิตย์ ชีวมวล และชีวภาพ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสถิติการรับรองคาร์บอนเครดิตของโครงการ T-VER ประเภทพลังงานทดแทนมีการรับรองคาร์บอนเครดิตเข้าสู่ตลาดคาร์บอนมากที่สุด ในจำนวนกว่า 8.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็น 59.57% ของปริมาณคาร์บอนเครดิตที่มีการรับรองจาก อบก. ทั้งหมด , สำหรับราคาคาร์บอนเครดิตในรูปแบบ OTC ผู้ซื้อและผู้ขายจะพิจารณากำหนดราคาโดยขึ้นกับปัจจัยดังนี้ 1. ต้นทุนส่วนเพิ่มในการทำโครงการ T-VER เช่น […]
เมื่อคาร์บอนเครดิตจากโครงการภาคป่าไม้ คือคำตอบสู่ Net Zero GHG Emissions
ประเทศไทยมีองค์กรที่แสดงความเป็นผู้นำในการประกาศเจตนารมณ์ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในระดับองค์กร จำนวนทั้งสิ้น 77 องค์กร โดยแนวทางในการบรรลุเป้าหมายคือ การเพิ่มพูนการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมหรือโครงการที่สามารถกักเก็บคาร์บอนไว้ได้ในระยะยาว เช่น การปลูกป่า การดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS) เป็นต้น เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ. 2050 หรือ Net-Zero GHG Emissions ภายในปี ค.ศ. 2065 . ในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ มีนาคม 2566) มีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ภาคป่าไม้ที่ได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิตทั้งหมดเพียง 6 โครงการ ปริมาณคาร์บอนเครดิตเท่ากับ 118,915 tCO2eq ในจำนวนนี้มีการขายคาร์บอนเครดิตไปแล้วปริมาณ 1,254 tCO2eq จาก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการการปลูกป่าอย่างยั่งยืน ณ วัดหนองจระเข้ ตําบลบ้านนา […]
โลกรวน: ข้อมูลดาวเทียมชี้ วัฏจักรน้ำของโลกเปลี่ยนแปลงเกินคาด ส่งผลแล้ง-ฝน รุนแรงกว่าเดิม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้วัฏจักรของน้ำระดับโลก ซึ่งเป็นกระบวนการที่น้ำระเหยกลายเป็นไอในชั้นบรรยากาศและควบแน่นตกลงมาเป็นฝน เริ่มหมุนเวียนไปจนครบรอบอย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้พื้นที่ประสบภัยแล้งขาดแคลนน้ำยิ่งขึ้น เขตมรสุมพายุฝนจะรุนแรงจากเดิมและเกิดอุทกภัยหนักขึ้น ซึ่งผลการศึกษาข้างต้นเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดจากดาวเทียม โดยทีมนักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลหลายแห่งของสเปน ถูกตีพิมพ์รายงานดังกล่าวลงในวารสาร Scientific Reports ศึกษาพบว่า การวัดค่าความเค็มหรือความเข้มข้นของแร่ธาตุที่ผิวน้ำทะเล โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ติดอยู่กับทุ่นลอยน้ำในมหาสมุทรนั้น มีความคลาดเคลื่อนโดยต่ำกว่าค่าความเค็มที่แท้จริงอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันเราตรวจวัดค่าดังกล่าวได้แม่นยำขึ้น ด้วยการสำรวจอุณหภูมิและการระเหยของน้ำทางดาวเทียม ซึ่งทีมผู้วิจัยระบุค่าความเค็มของผิวน้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกตินั้น ชี้ถึงการที่ภาวะโลกร้อนทำให้บริเวณที่น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูง เกิดการระเหยกลายเป็นไอของผิวน้ำด้านบนมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น เพิ่มความชื้นในชั้นบรรยากาศ ซึ่งจะรวมตัวกันเป็นพายุฝนในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตรและขั้วโลกทั้งสองมากขึ้น วัฏจักรของน้ำที่แปรปรวนดังกล่าว เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบที่เรียกว่า “พื้นที่ชุ่มชื้นจะเปียกมากขึ้น พื้นที่แห้งก็จะแล้งยิ่งขึ้น” แหล่งน้ำในส่วนต่าง ๆ ของโลกจะได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยน้ำในแหล่งน้ำจืดจะมีแร่ธาตุเจือจางและมีรสจืดกว่าเดิมเพราะปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น ส่วนน้ำทะเลนั้นจะยิ่งมีความเข้มข้นของแร่ธาตุสูง และมีรสเค็มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากน้ำระเหยกลายเป็นไอในอัตราที่สูงขึ้น แต่ไม่ตกกลับลงมาเป็นฝนในที่เดิมซึ่งมีอุณหภูมิสูงโดยข้อมูลจากดาวเทียมล่าสุดนี้ สอดคล้องกับการทำนายด้วยแบบจำลองภูมิอากาศโลก ซึ่งเคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า ในทุก 1 องศาเซลเซียส ที่โลกร้อนขึ้น จะส่งผลให้วัฏจักรของน้ำหมุนเวียนอย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้น ร้อยละ 7 ซึ่งหมายถึงว่าพื้นที่ชุ่มชื้นจะเผชิญพายุฝนหนักกว่าเดิม ร้อยละ 7 และพื้นที่แห้งแล้งจะยิ่งเผชิญสภาพอากาศที่แห้งจากเดิม ร้อยละ 7 ที่มา/แหล่งข้อมูล https://www.bbc.com/thai/international-61299458 Post Views: […]
IPCC ชี้ปัญหา‘โลกร้อน’ ใกล้สุดทาง
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ได้เผยแพร่รายงาน “Climate Change 2021-2022” โดยได้มีการเปิดเผยรายงาน 2 ส่วนแรกไปแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคม ปีค.ศ. 2021 ซึ่งในรายงานส่วนที่ 1 The Physical Science Basis ได้กล่าวถึง “สัญญาณอันตราย” ที่โลกจะร้อนเกินกว่าที่จะควบคุมได้ และจะชี้ให้เห็นว่า โลกที่ร้อนขึ้นอาจส่งผลให้อารยธรรมมนุษย์ล่มสลายแบบไม่อาจหวนกลับคืน ในรายงานส่วนที่ 2 Impact, Adaptation and Vulnerability เดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 2022 และรายงานส่วนที่ 3 Mitigation of