รายงาน IPCC ของสหประชาชาติเตือนภาวะโลกร้อนวิกฤติเร็วกว่าที่คิด

 

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (IPCC) ได้เผยแพร่รายงานประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 6 (The Sixth Assessment Report : AR6) ก่อนการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์
รายงาน IPCC ระบุว่า สาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกปัจจุบันสูงขึ้นกว่า 1.1C เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และอาจจะทำให้การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในกรณี 1.5 C เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมนั้น เกิดขึ้นเร็วกว่าที่กำหนดไว้
โดยประเด็นสำคัญของรายงาน IPCC มีดังนี้
1. อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยทั่วโลกระหว่างปี 2011-2020 สูงถึง 1.09C ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม หรือระหว่างปี ค.ศ. 1850-1900
2. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงที่สุด เมื่อเทียบกับที่เคยบันทึกไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850
3. ระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน เพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเลในปี ค.ศ. 1901-1971
4. กิจกรรมของมนุษย์ประมาณ 90% เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการละลายตัวของธารน้ำแข็งทั่วโลก ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 และการลดลงของปริมาณน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก
5. ปรากฏการณ์ความถี่และรุนแรงของคลื่นความร้อนสูงขึ้น นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 ในขณะที่ปรากฏการณ์อากาศหนาวเย็นจัด มีความถี่ในการเกิดและความรุนแรงลดลง

 

 

ที่มา /แหล่งข้อมูล
https://www.bbc.co.uk/news/science-environment-58130705.amp

Write a comment

13 − four =