ครั้งแรกกับภาพถ่ายดาวเทียมตรวจวัดก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศ

เป็นที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญอันดับสองในชั้นบรรยากาศ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือก๊าซมีเทนสามารถดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ๓๐ เท่าของปริมาณที่ใกล้เคียงกันและมีส่วนทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเป็นอย่างมาก ในขณะที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น แต่ก็มีงานวิจัยใหม่จากนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เรากลับไม่ได้คำนึงถึงการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของก๊าซมีเทนมากเท่าที่ควร ซึ่งมีการศึกษาพิสูจน์แล้วว่า การปล่อยก๊าซมีเทนในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ระบบธรรมชาติจะสามารถกักเก็บไว้ได้

ดังนั้นในปัจจุบันทั้งรัฐบาลภาครัฐและเอกชนในหลายประเทศจึงพยายามพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อติดตามก๊าซมีเทนได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ด้วยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมให้สามารถค้นหาแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซบนโลกนี้ได้

บริษัท GHGSat ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศแคนาดาเป็นบริษัทแรกที่สามารถถ่ายภาพจากดาวเทียมเพื่อตรวจจับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งรวมข้อมูลจากดาวเทียมตรวจจับก๊าซมีเทนขนาดเล็กสองลำโดยความร่วมมือจาก Sentinel-5P ของ European Space Agency และ EU

GHGSat ได้สร้างเว็บไซต์สำหรับประชาชนทั่วไปในการตรวจสอบการปล่อยก๊าซมีเทนแบบโต้ตอบแบบเรียลไทม์ที่ https://pulse.ghgsat.com/ ซึ่งจะมีการอัปเดตทุกสัปดาห์

การถ่ายภาพผ่านดาวเทียมเป็นเครื่องมือที่ดีในการช่วยให้เราประยุกต์ใช้และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทน และนอกจากนี้หน่วยงานของรัฐยังสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจและพัฒนานโยบายใหม่ในการลดก๊าซเรือนกระจกและพลังงานในอนาคต

 

 

 

ที่มา/แหล่งข้อมูล

  1. GHGSat Website: https://www.ghgsat.com/
  2. https://pulse.ghgsat.com/
  3. https://www.ghgsat.com/claire-iris-comparison/
  4. https://www.bbc.com/news/science-environment-54597764

Write a comment

nineteen − one =