การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Social Sciences (2559)

Orachorn Chimjan

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะในสถานการณ์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและเสนอแนวทางการจัดการขยะเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลการศึกษาพบว่าการเกิดขยะภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีปริมาณเท่ากับ 596.87 กิโลกรัม/วัน โดยขยะอินทรีย์มีสัดส่วนเฉลี่ยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.57 รองลงมา ได้แก่ ขยะทั่วไป ร้อยละ 30.79 ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 22.70 ขยะติดเชื้อ ร้อยละ 3.07 และขยะอันตราย
ร้อยละ 1.87 ตามลำดับ สำหรับการเปรียบเทียบเทียบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากการจัดการขยะ 2 สถานการณ์ พบว่าการจัดการขยะสถานการณ์ที่ 2 (การจัดการขยะแบบผสมผสาน: การคัดแยกขยะอย่างเหมาะสม การทำปุ๋ยหมักขยะอินทรีย์ การรีไซเคิล และการเทกองที่มีการควบคุม) มีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการจัดการขยะสถานการณ์ที่ 1 (การเทกองที่มีการควบคุม) โดยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิในการจัดการขยะสถานการณ์ที่ 2 สามารถลดลงถึง 474.30 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี คิดเป็นร้อยละ 99.64 เมื่อเทียบกับสถานการณ์ที่ 1 ซึ่งไม่มีการคัดแยกขยะก่อนนำไปกำจัด

คำสำคัญ

ขยะ; ก๊าซเรือนกระจก; มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม; solid waste; greenhouse gas; Pibulsongkarm Rajabhat University

เอกสารอ้างอิง

1.       Chimjan, O., 2559, “Rt2 – การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม”, Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Social Sciences, Vol. 17, No. 2.

Write a comment

twelve − three =