Greenhouse Gas Inventory – การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก

Greenhouse Gas Inventory

การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก

 


https://caacademy.tgo.or.th/courses/


 

ที่มาและความสำคัญ

ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ  United Nations Framework on Climate Change (UNFCCC) มีพันธกรณีจะต้องจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกเพื่อเสนอต่อ UNFCCC ตามศักยภาพและความพร้อมในการดำเนินการของประเทศเพื่อให้ทุกประเทศมีการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  โดยกำหนดให้แต่ละภาคีต้องจัดทำรายงานความโปร่งใสรายสองปี (Biennial Transparency Report: BTR) และต้องจัดส่งรายงานฉบับแรกภายใน วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ประกอบด้วยรายงานข้อมูลบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ข้อมูลที่จำเป็นในการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานและการบรรลุเป้าหมาย NDC รวมทั้ง ข้อมูลเกี่ยวกับการปรับตัวและการสนับสนุน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีสและในการทำรายงานข้อมูลบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศนั้นได้ถูกกำหนดให้มีการคำนวณตามคู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกแห่งชาติปี 2006ของ IPCC หรือIPCC guidelines for national greenhouse gas inventories ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยสามารถดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศและการแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในฐานะหน่วยงานด้านการบริหารจัดการก๊าซกระจก จึงต้องพัฒนาหลักสูตรการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกสำหรับประเทศไทยที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของ IPCC ภายใต้ UNFCCC เพื่อใช้ในการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและพัฒนาศักยภาพในระยะยาวให้กับบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้และทักษะในการจัดเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานและการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกในระดับชาติ รวมทั้งสามารถที่จะดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกภายในหน่วยงานและประเทศต่อไป

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศ และเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
  • เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีและการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก การเก็บและบันทึกข้อมูล การรวบรวมข้อมูลกิจกรรม และค่าการปล่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อให้ผู้เรียนจากหน่วยงานที่ต้องดำเนินการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ตามแนวทางของ 2006 IPCC Guideline ในทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาคพลังงาน ภาคกระบวนการอุตสาหกรรม ภาคของเสีย ภาคเกษตร ป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน

 

ประเด็นและกรอบเนื้อหาการอบรม

ความสำคัญของการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความร่วมมือระหว่างประเทศ และแนวทางการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก

กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความหมายของ IPCC ความสำคัญและที่มาของการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก และสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย หลักเกณฑ์การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกตามกรอบ Paris Rulebook ตลอดจนข้อมูลเบื้องต้นในการจัดทำและการวิเคราะห์บัญชีก๊าซเรือนกระจก

 

“การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกภาคพลังงาน “

สถานการณ์การและแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานของประเทศไทย การเก็บบันทึกและรวบรวมข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งอุตสาหกรรมต่างๆ การประเมินและตัวอย่างการคำนวนจากการใช้ IPCC  Software รวมถึงการหาค่าความไม่แน่นอนในภาคพลังงานและการประกันและควบคุมคุณภาพของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน

 

“การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ “

สถานการณ์การและแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย การเก็บบันทึกและรวบรวมข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต่างๆ การประเมินการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นที่ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงการหาค่าความไม่แน่นอนในภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์และการประกันและควบคุมคุณภาพของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกในภาคภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์

 

“การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกภาคของเสีย”

สถานการณ์การและแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคของเสียของประเทศไทย การเก็บบันทึกและรวบรวมข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แตกต่างกันไปตามหมวดหมู่ภาคของเสีย การประเมินและตัวอย่างการคำนวน รวมถึงการหาค่าความไม่แน่นอนในภาคของเสียและการประกันและควบคุมคุณภาพของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกในภาคของเสีย

 

“การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน”

สถานการณ์การและแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทย การเก็บบันทึกและรวบรวมข้อมูลปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่แตกต่างกันไปตามหมวดหมู่ของภาคเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดินการประเมินและตัวอย่างการคำนวน รวมถึงการหาค่าความไม่แน่นอนในภาคของเสียและการประกันและควบคุมคุณภาพของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกในภาคภาคเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน

 

https://caacademy.tgo.or.th/courses/

 

 

CAA Climate Action Academy

ติดต่อเรา: caa@tgo.or.th


 

Write a comment

17 + sixteen =