The Paris Agreement for Climate Change

World Wide Fund for Nature, 4 July 2016

โลกเรากำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอย่างรุนแรง อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นกว่า 1 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และทำให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาสมุทร และความมั่นคงทางอาหาร นอกจากนี้ยังเกิดภัยพิบัติต่างๆ ที่มีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น การประชุมด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ปารีสในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2015 ประเทศภาคอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจำนวนกว่า 195 ประเทศ ร่วมลงนามในข้อตกลงที่จะควบคุมการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยรักษาระดับการปล่อยแก๊สเรือนกระจกไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงเกิน 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยอุณหภูมิโลกก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งถ้าเป็นไปได้จะพยายามรักษาระดับอุณหภูมิไม่สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่หากปล่อยให้อุณหภูมิของโลกสูงเกิน 2.7 องศาเซลเซียสนั้น โลกจะเผชิญกับภัยพิบัติร้ายแรง ในข้อตกลงปารีส แต่ละประเทศที่ร่วมลงนามจะต้องส่งแผนในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และต้องมีการปรับปรุงแผนทุกๆ 5 ปี เพื่อตรวจสอบและติดตามความก้าวหน้าของข้อตกลงในการควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน

เผยแพร่โดย WWF-Brasil

(www.youtube.com)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1.       World.Wide.Fund.for.Nature, 2016, Ce1 – the Paris Agreement for Climate Change, [online], Available: https://www.youtube.com/watch?v=I-4F5MJEeqs [4 July 2016].

Write a comment

10 − five =