×

ค้นหา

Climate Adaptation

  • โดย Admin
  • ระดับคอร์ส: ระดับกลาง
  • หมวดหมู่ E-Learning
  • ลงทะเบียนแล้ว 1790
  • อัปเดตล่าสุด ต.ค. 01 2022

คำอธิบาย

TP071-E Climate Adaptation: ความรู้เบื้องต้นด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จากปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและจากการจัดอันดับดัชนีความเสี่ยงจากสภาพอากาศโลกระหว่างปี 1997–2016 ในรายงาน Global Climate Risk Index 2018 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว เป็นอันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งประเทศไทยได้มีการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan: NAP) โดยคำนึงถึงผลกระทบในมิติต่างๆ ที่เกิดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การสร้างความตระหนักถึงปัญหาและการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้เห็นถึงความสำคัญของผลกระทบและความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถเชื่อมโยงกับการวางแผนพัฒนาในระดับต่างๆ เช่น ท้องถิ่น จังหวัด หรือ ภูมิภาคซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยการขับเคลื่อนแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีภูมิคุ้มกันและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งยังเป็นช่องทางการขับเคลื่อนให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมต่อไป

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำหลักสูตรการปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Adaptation) เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาและการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้เห็นถึงความสำคัญของผลกระทบ และความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถบูรณาการแผนและเชื่อมโยงเข้ากับวางแผนพัฒนาในระดับต่างๆ เช่น ท้องถิ่น จังหวัด หรือ ภูมิภาค เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยการขับเคลื่อนแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีภูมิคุ้มกันและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งยังเป็นช่องทางการขับเคลื่อนให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมต่อไป


วัตถุประสงค์

  • เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์และผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับนโยบายและกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อผลกระทบเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
  • เสริมสร้างองค์ความรู้ และการบูรณาการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กลุ่มเป้าหมาย

  • นิสิต นักศึกษา
  • หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เจ้าหน้าที่ นักวิจัย และคณาจารย์ จากสถาบันการศึกษา
  • บุคคลที่สนใจทั่วไป

ประเด็นและกรอบเนื้อหา

  • องค์ความรู้พื้นฐานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต แนวทางการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • แนวคิดในการศึกษาเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความสำคัญ นิยาม และความหมายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประเมินความเปราะบางและการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่

  • ผลกระทบและแนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

ผลกระทบและแนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สาขาการจัดการน้ำ อุทกภัย และภัยแล้ง สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สาขาการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร สาขาการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์  สาขาสาธารณสุข และสาขาการท่องเที่ยว

  • นโยบายด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สาระสำคัญของแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

  • การบูรณาการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กรอบแนวคิดแนวทางการบูรณาการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวิธีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การวิเคราะห์และจัดทำแผนปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผล

หัวข้อสำหรับคอร์สนี้

5 บทเรียน

PRE-TEST: CA

Pre-Test: CA

บทที่ 1 สาเหตุและผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลกและประเทศไทย

บทที่ 2 ความสำคัญ นิยาม ความหมาย การปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บทที่ 3 การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลักการและแนวคิด

บทที่ 4 แนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

บทที่ 5 หลักการและแนวคิดพื้นฐานด้านการบูรณาการการทำงานที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

POST-TEST: CA

ฟรี
สถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CAA)

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9 ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

ติดต่อเรา

081-1322- 936, 02-142-7470
caa@tgo.or.th

ข้าพเจ้ายินยอมให้ อบก.ใช้ข้อมูลข้างต้น เพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลสมาชิก /ผู้เรียน และรับข่าวสารอื่นๆ ของอบก.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า