×

ค้นหา

4.78
(23 Ratings)

Climate Adaptation

Categories: E-Learning
Wishlist Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

About Course

TP071-E Climate Adaptation: ความรู้เบื้องต้นด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จากปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและจากการจัดอันดับดัชนีความเสี่ยงจากสภาพอากาศโลกระหว่างปี 1997–2016 ในรายงาน Global Climate Risk Index 2018 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว เป็นอันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งประเทศไทยได้มีการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan: NAP) โดยคำนึงถึงผลกระทบในมิติต่างๆ ที่เกิดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การสร้างความตระหนักถึงปัญหาและการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้เห็นถึงความสำคัญของผลกระทบและความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถเชื่อมโยงกับการวางแผนพัฒนาในระดับต่างๆ เช่น ท้องถิ่น จังหวัด หรือ ภูมิภาคซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยการขับเคลื่อนแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีภูมิคุ้มกันและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งยังเป็นช่องทางการขับเคลื่อนให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมต่อไป

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำหลักสูตรการปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Adaptation) เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาและการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้เห็นถึงความสำคัญของผลกระทบ และความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถบูรณาการแผนและเชื่อมโยงเข้ากับวางแผนพัฒนาในระดับต่างๆ เช่น ท้องถิ่น จังหวัด หรือ ภูมิภาค เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยการขับเคลื่อนแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีภูมิคุ้มกันและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งยังเป็นช่องทางการขับเคลื่อนให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมต่อไป


วัตถุประสงค์

  • เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์และผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับนโยบายและกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อผลกระทบเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
  • เสริมสร้างองค์ความรู้ และการบูรณาการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กลุ่มเป้าหมาย

  • นิสิต นักศึกษา
  • หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เจ้าหน้าที่ นักวิจัย และคณาจารย์ จากสถาบันการศึกษา
  • บุคคลที่สนใจทั่วไป

ประเด็นและกรอบเนื้อหา

  • องค์ความรู้พื้นฐานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต แนวทางการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • แนวคิดในการศึกษาเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความสำคัญ นิยาม และความหมายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประเมินความเปราะบางและการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่

  • ผลกระทบและแนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

ผลกระทบและแนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สาขาการจัดการน้ำ อุทกภัย และภัยแล้ง สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สาขาการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร สาขาการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์  สาขาสาธารณสุข และสาขาการท่องเที่ยว

  • นโยบายด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สาระสำคัญของแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

  • การบูรณาการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กรอบแนวคิดแนวทางการบูรณาการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวิธีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การวิเคราะห์และจัดทำแผนปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผล

Show More

Course Content

PRE-TEST: CA

  • Pre-Test: CA

บทที่ 1 สาเหตุและผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลกและประเทศไทย

บทที่ 2 ความสำคัญ นิยาม ความหมาย การปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บทที่ 3 การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลักการและแนวคิด

บทที่ 4 แนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

บทที่ 5 หลักการและแนวคิดพื้นฐานด้านการบูรณาการการทำงานที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

POST-TEST: CA

Student Ratings & Reviews

4.8
Total 23 Ratings
5
20 Ratings
4
2 Ratings
3
0 Rating
2
1 Rating
1
0 Rating
A
5 days ago
good
good
K
4 weeks ago
good
W
2 months ago
No comment
T
2 months ago
-
B
2 months ago
-
S
2 months ago
-
P
2 months ago
good course for climate change
G
2 months ago
Good
RS
2 months ago
หลักสูตรที่ได้เข้าอบรมมีความจำเป็นและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรได้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
S
2 months ago
Very Good
B
2 months ago
good
S
2 months ago
good
RS
2 months ago
-
T
2 months ago
ข้อมูลเยอะศัพท์เฉพาะเยอะ ควรย่อยให้เข้าใจง่ายกว่านี้
N
2 months ago
-
CT
2 months ago
คำถามไม่ค่อยจะตรงคำตอบเท่าไหร่
CO
3 months ago
Good
JP
3 months ago
ความรู้ที่เข้าถึงได้
AB
3 months ago
good
TGO Climate Action Academy (CAA)

Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization)
120 Building B, 9th Fl. Government Complex Commemorating His Majesty,Laksi, Bangkok, Thailand 10210
สถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CAA)

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9 ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

Contact Us

081-1322- 936, 02-142-7470
caa@tgo.or.th

ติดต่อเรา

081-1322- 936, 02-142-7470
caa@tgo.or.th

ข้าพเจ้ายินยอมให้ อบก.ใช้ข้อมูลข้างต้น เพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลสมาชิก /ผู้เรียน และรับข่าวสารอื่นๆ ของอบก.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save