วิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นความสำคัญในปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจ หรือความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ และถือได้ว่าเป็นความท้าทายใหม่ของการพัฒนาประเทศ เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งต่อสังคม และภาวะเศรษฐกิจของโลก นานาประเทศได้เห็นพ้องที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจังโดยกำหนดเป็นกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) เพื่อใช้เป็นเวทีในการสร้างความร่วมมือจากนานาชาติ ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ และการรับมือต่อภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทิศทางการพัฒนาในปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาสร้างความสมดุลในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงกัน
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำหลักสูตรการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งให้เกิดบูรณาการและการสร้างแรงบันดาลใจไปสู่การพัฒนายกระดับการบริหารงาน และสะท้อนออกมาในนโยบายการบริหารในต่างๆ รวมถึงมีเป้าหมายสำคัญในการเป็นแรงขับเคลื่อน ผลักดันให้เกิดการพัฒนากิจกรรมและการดำเนินงานที่สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในมิติด้านต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในโลกยุคปัจจุบันที่มีพลวัตรและการเปลี่ยนแปลงหลากหลายด้านได้อย่างสัมฤทธิ์ผลต่อไป
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
ประเด็นและกรอบเนื้อหา
ประเด็นความสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจหรือความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สัญญาณและผลของภาวะโลกร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสังคมและภาวะเศรษฐกิจของโลก และความสำคัญและเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
ประเด็นความสำคัญด้านกรอบการดำเนินงานร่วมกันของนานาชาติเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เพื่อให้ธรรมชาติสามารถปรับตัวได้และเพื่อเป็นการประกันว่าจะไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
ประเด็นความสำคัญของวาระการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. 2558 ที่ปรับใช้เป็นเครื่องมือที่ใช้ร่วมกันในทุกระดับตั้งแต่ระดับโลกไปจนถึงระดับชุมชนหรือปัจเจกชน เพื่อสื่อสารด้านการพัฒนา การสื่อสารความต้องการ การสร้างความร่วมมือให้อยู่ในเส้นทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นั้น ได้มีส่วนทำให้เกิดการริเริ่มกลไกใหม่และพัฒนากลไกที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการมีเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาร่วมกันของประเทศต่างๆ และภาคส่วนต่างๆ โดยแต่ละภาคส่วนอาจจะใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในบริบทของตนให้ไปสู่ความยั่งยืน
ข้าพเจ้ายินยอมให้ อบก.ใช้ข้อมูลข้างต้น เพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลสมาชิก /ผู้เรียน และรับข่าวสารอื่นๆ ของอบก.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นโยบายความเป็นส่วนตัว