CCUS เทคโนโลยีที่กำลังเติบโตเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS)  เป็นเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และนำมากักเก็บภายใต้พื้นดินหรือใช้ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมอื่นๆ แนวคิดนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ครั้งแรกในด้านการผลิตน้ำมันในขั้นตอนที่เรียกว่า “การสูบน้ำมันแบบก้าวหน้า” (Enhanced oil recovery : EOR) ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๐

เนื่องจาก CCUS เป็นเทคโนโลยีที่มีราคาสูงสำหรับการนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม การลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าวจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม CCUS ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการลดคาร์บอนและเริ่มได้รับการสนใจเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๗ จากการวางเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและแรงจูงใจด้านการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นจากทั่วโลก อีกทั้ง CCUS ยังถือเป็นหนึ่งในห้าวิธีการหลักในการเปลี่ยนถ่ายสู่พลังงานสะอาดสำหรับประเทศจีน

นอกจากนี้เพื่อการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เทคโนโลยี CCUS สามารถตอบสนองได้ด้วยคุณค่าด้านกลยุทธ์ที่โดดเด่นอันประกอบด้วย

  1. โรงงานผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งสามารถปล่อย CO2 ๘ พันล้านตัน ในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ สามารถทำการติดตั้ง CCUS ได้
  2. CCUS สามารถประยุกต์ใช้ได้ในภาคการผลิตที่หลากหลาย ขณะที่เทคโนโลยีอื่นๆ มีความจำกัด
  3. CCUS สามารถนำไปสู่การผลิตก๊าซไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำที่ต้นทุนต่ำที่สุด
  4. CCUS สามารถกำจัด CO2 จากบรรยากาศด้วยการทำงานร่วมกับการใช้พลังงานชีวภาพหรือการดักจับอากาศโดยตรงเพื่อสร้างสมดุลการปล่อย

จากที่กล่าวมาข้างต้น CCUS ที่กำลังได้รับแรงขับเคลื่อนและสามารถประยุกต์ใช้ได้ในกระบวนการอุตสาหกรรมที่หลากหลายซึ่งกำลังปล่อย CO2 ปริมาณมหาศาลสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการลดการปล่อย CO2 และการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต

 

 

 

ที่มา / แหล่งข้อมูล

  1. https://www.nsenergybusiness.com/features/china-clean-energy-net-zero/
  2. https://www.iea.org/fuels-and-technologies/carbon-capture-utilisation-and-storage
  3. https://www.euractiv.com/section/climate-environment/opinion/growing-momentum-behind-carbon-capture-can-make-it-a-new-clean-energy-success-story/
  4. https://www.iea.org/reports/ccus-in-clean-energy-transitions/a-new-era-for-ccus#abstract

 

Write a comment

CCUS, a Growing Technology for Net Zero Emission

Carbon Capture, Utilisation and Storage (CCUS) is a technology of CO2 capturing and store it underground or use it in other industrial production processes. The idea was first applied in oil production field known as “Enhanced Oil Recovery” (EOR) since 1970s.

As CCUS technology is expensive in terms of industrial-scale implementation, investment of the technology was declining for years. However, CCUS is considered as the best way for decarbonization and is currently gaining more attention since 2017 because of the stronger climate targets and investment incentives around the world. In addition, CCUS is accounted for one of the five key areas for clean energy transformation in China.

Moreover, in order to reach the net zero emission goal, CCUS technologies could offer significant strategic values as followings:

  1. Existing power and industrial plants, which could produce 8 billion tons of CO2 emission in 2050, can be added with CCUS.
  2. CCUS can be applied in sectors where other technology options are limited.
  3. A least-cost low-carbon hydrogen production can be enabled by CCUS.
  4. CCUS can remove CO2 from the atmosphere by combining it with bioenergy or direct air capture to balance emissions.

As mentioned above, CCUS is gaining momentum and could be applied in diverse industrial processes which are emitting huge amount of CO2 to atmosphere. Therefore, this technology is a potential tool for reducing CO2 emission and getting to the net zero goal in the near future.

 

 

Reference

  1. https://www.nsenergybusiness.com/features/china-clean-energy-net-zero/
  2. https://www.iea.org/fuels-and-technologies/carbon-capture-utilisation-and-storage
  3. https://www.euractiv.com/section/climate-environment/opinion/growing-momentum-behind-carbon-capture-can-make-it-a-new-clean-energy-success-story/
  4. https://www.iea.org/reports/ccus-in-clean-energy-transitions/a-new-era-for-ccus#abstract

Write a comment