ความเสียหายมูลค่ามหาศาลจากภัยพิบัติที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี 2021
นอกจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 แล้วนั้น ปี ค.ศ. 2021 นับเป็นปีที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ที่มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดปีหนึ่ง จากการศึกษาของมูลนิธิคริสเตียนอุปถัมภ์ (Cristian Aid) พบว่า เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงทั่วโลกถึง 15 เหตุการณ์ และมีถึง 10 เหตุการณ์ที่มีมูลค่าความเสียหายสูงกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ จากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปี 2021 วาตภัยและอุทกภัยเป็นสาเหตุหลักของความเสียหายที่เกิดขึ้นซึ่งมีมูลค่ารวมถึง 170.3 พันล้านดอลลาร์ เฮอริเคน ไอด้า ซึ่งเข้าถล่มประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนสิงหาคมสร้างมูลค่าความเสียหายเป็นอันดับหนึ่งที่ 65 พันล้านดอลลาร์ รวมถึงมีผู้เสียชีวิต 95 คน และผู้ที่ขาดที่พักอาศัยกว่า 14,000 คน อุทกภัยในยุโรปที่โจมตีประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และลักเซมเบิร์ก ในเดือนกรกฎาคมสร้างมูลค่าความเสียหายเป็นลำดับที่สองที่ 43 พันล้านดอลลาร์ รวมถึงมีผู้เสียชีวิต 240 คน คลื่นความเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศสในเดือนเมษายนสร้างความเสียหายครั้งใหญ่แก่การเกษตรโดยเฉพาะไร่องุ่นนำมาสู่มูลค่าความเสียหายกว่า 5.6 พันล้านดอลลาร์ อุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลีย อินเดีย ศรีลังกา มัลดีฟ จีน ฟิลิปปินส์ […]
บลูคาร์บอน: แหล่งกักเก็บคาร์บอนประสิทธิภาพสูงที่กำลังได้รับความสนใจ เพื่อมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
ผู้นำจากทั่วโลกได้แสดงความมุ่งมั่นเกี่ยวกับการหยุดทำลายป่าไม้ในปี ค.ศ. 2030 ณ COP26 อย่างไรก็ตามมีเพียง 43 ประเทศ จาก 113 ประเทศ เท่านั้น ที่รวมระบบนิเวศบลูคาร์บอนเข้าเป็นส่วนหนี่งในมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจก อันเป็นเหตุให้นักรณรงค์และนักอนุรักษ์ทางทะเลระบุว่าแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพสูงในมหาสมุทรกำลังถูกมองข้าม ระบบนิเวศชายฝั่ง อันประกอบด้วย ป่าชายเลน ที่ราบน้ำท่วมถึง และหญ้าทะเล ซึ่งถือเป็น บลูคาร์บอน เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพ ระบบนิเวศนี้กักเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ไว้ในรากและตะกอนดินซึ่งคาร์บอนเหล่านี้จะถูกกักเก็บได้นานนับพันปีในกรณีที่ไม่ถูกรบกวน ขณะที่กรีนคาร์บอน เช่น ป่าฝน กักเก็บคาร์บอนไว้ในชีวมวลและปล่อยกลับออกมาเมื่อต้นไม้ตาย ด้วยเหตุนี้ บลูคาร์บอนจึงมีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนสูงกว่าป่าไม้ถึงเกือบ 10 เท่า หลักฐานยืนยันสำหรับประสิทธิภาพของบลูคาร์บอนถูกเปิดเผยเพิ่มเติม เมื่อมีการค้นพบว่า ที่ราบน้ำท่วมถึง Steart ในประเทศอังกฤษสามารถดูดซับคาร์บอนได้ 19 ตัน ต่อเฮกตาร์ ในทุกๆ ปี หรือ 18,000 ตัน ใน 4 ปี ซึ่งเป็นจำนวนเท่ากับการกำจัดก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยโดยรถยนต์ 32,900 คัน อันเป็นการสนับสนุนว่าบลูคาร์บอนมีประสิทธิภาพสูงว่าป่าไม้ที่มีขนาดเท่ากัน อีกทั้ง ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนโดยหญ้าทะเลจากการสังเคราะห์ด้วยแสงและกักเก็บไว้ในโคลนตะกอนมีความไวกว่าป่าฝนถึง 35 เท่า […]
ประเด็นสำคัญจากการประชุม COP26 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2564 โดยประเทศภาคีสมาชิกจำนวน 197 ประเทศมีมติเห็นชอบใน ข้อตกลง Glasgow Climate Pact ซึ่งเป็นข้อตกลงนานาชาติ ที่จะช่วยเร่งการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศในทศวรรษนี้ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายในการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้ ตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) Martina Donlon หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ UN (The UN Climate Communications Lead) ได้ให้สัมภาษณ์กับ UN News ว่าภายใต้ข้อตกลงที่ประกาศในที่ประชุม COP26 มีข้อตกลง 3 ข้อ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด ดังนี้ ลดการใช้ถ่านหิน และยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Martina Donlon ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อตกลงนี้ ที่เรียกร้องให้แต่ละประเทศกำหนดมาตรการหรือนโยบาย เพื่อลดการใช้ถ่านหิน และยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจนมาก่อน ในการเจรจาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ […]
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ 2021 จากผลงานด้านสภาพภูมิอากาศ และระบบกายภาพอันซับซ้อน
The Royal Swedish Academy of Sciences ประกาศรายชื่อผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2021 ได้แก่ Syukuro Manabe และ Klaus Hasselmann ได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานแบบจำลองทางกายภาพของสภาพภูมิอากาศโลก (Physical Models of the Earth’s Climate), การหาปริมาณความแปรปรวน และ Giorgio Parisi ได้รับรางวัลสำหรับการแก้ปัญหาทางทฤษฎี (Theory
สหราชอาณาจักรเตรียมจัดอาหารจากพืช (Plant-based Food) เป็นรายการอาหารหลักในงาน COP26
เมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ของรัฐบาลของสหราชอาณาจักรในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ “COP 26” ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก๊อตแลนด์ ได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่าอาหารที่ทำจากพืช หรือ Plant-based Food จะเป็นรายการอาหารหลักที่จะเสิร์ฟภายในงาน COP26 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2564 ในการแถลงข่าวยังระบุว่าผู้เข้าร่วมประชุม COP26 จะได้รับอาหารที่มาจากท้องถิ่นที่ถูกปลูกแบบยั่งยืน โดย 95% ของอาหารจะมาจากสหราชอาณาจักรซึ่งส่วนใหญ่มาจากสกอตแลนด์และเป็นอาหารตามฤดูกาล โดยแต่ละรายการอาหารจะมีข้อมูลปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยประมาณเพื่อช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมตัดสินใจเลือกที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศได้ จากรายงาน Food System Impact on Biodiversity Loss โดยสถาบันนโยบาย Chatham House สหราชอาณาจักร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก UNEP และ Compassion in World Farming ได้รายงานว่าการทำฟาร์มปศุสัตว์นั้นได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้สูงถึง 15% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด จึงทำให้มีการรณรงค์ให้ทานอาหารมังสวิรัติเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากอาหารมังสวิรัตินั้นมีรสชาติที่ไม่ถูกปากคนทั่วไป หลายคนจึงไม่สามารถ ลด-ละ การบริโภคเนื้อสัตว์ได้ […]
การบรรยายในหัวข้อ “การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกสู่สังคมคาร์บอนต่ำ” ให้กับนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยหัวข้อในการบรรยายมีทั้งหมด 4 หัวข้อ ประกอบด้วย 1. Climate Change Science 2. Global Agenda: SDGs, Paris Agreement 3. National Strategies and Planning 4. Low Carbon City and Society Development Post