ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย

วารสารพลังงาน (2556)

พงศ์ปิติ เดชะศิริ, อัจฉริยา สุริยะวงค์, วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย โดยจำแนกประเภทของอุตสาหกรรมสิ่งทอตามชนิดของผลิตภัณฑ์หลัก วิเคราะห์ค่าดัชนีการเกิดคาร์บอน (Carbon Intensity; CI) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้วิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การเปรียบเทียบเชิงมูลค่าและการเปรียบเทียบเชิงกายภาพ ผลการศึกษาพบว่า ค่า CI ของอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทยมีค่าสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบเชิงมูลค่ากับต่างประเทศ และการเปรียบเทียบค่า CI เชิงกายภาพของโรงงานควบคุมอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ย CI เท่ากับ 2.89, 4.71 และ 3.61 tCO2eq/ตัน ได้แก่ โรงงานควบคุมอุตสาหกรรมการปั่นด้าย ทอผ้า และตกแต่งสำเร็จสิ่งทอ ตามลำดับ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาดกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ต่ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานบนพื้นฐานปริมาณ การผลิตผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น จะส่งผลให้ค่า CI ลดลง และการปรับปรุงเครื่องจักรและเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ผลการศึกษาพบว่า สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 154,733 tCO2eq หรือคิดเป็นร้อยละ 6.34 ของโรงงานควบคุมปี พ.ศ. 2550 เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่มีศักยภาพลดก๊าซเรือนกระจกจาก การใช้การพลังงานมากที่สุด ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ และหม้อต้มน้ำ คิดเป็นร้อยละ 63, 31 และ 7 ตามลำดับ การพิจารณาศักยภาพการลดก๊าซเรือนของโรงงานควบคุมอุตสาหกรรมสิ่งทอ เมื่อขยายผลการศึกษาสู่ภาพรวมข้อมูลกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานของอุตสาหกรรมสิ่งทอประเทศไทย จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 332,719 tCO2eq ในปี พ.ศ.2550

คำสำคัญ

ก๊าซเรือนกระจก; ค่าดัชนีการเกิดคาร์บอน; ประสิทธิภาพเครื่องจักร; พลังงาน; อุตสาหกรรมสิ่งทอ; greenhouse gas; carbon intensity; machine efficiency; energy; textile industry

เอกสารอ้างอิง

1.       พงศ์ปิติ.เดชะศิริ, อัจฉริยา.สุริยะวงค์, and วีรินทร์.หวังจิรนิรันดร์, 2556, “Rt3 – ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย”, วารสารวิจยพลังงาน, Vol. 10, No. 1.

Write a comment

11 + eleven =