วาระเขียว-คาร์บอนต่ำ และมโนทัศน์ใหม่สำหรับการศึกษาการเมืองเรื่องที่ดินในภาคการเกษตร

บทคัดย่อ

บทความนี้อธิบายที่มาและองค์ประกอบหลักๆ ของมโนทัศน์ “การแย่งยึดสีเขียว” และ “การกีดกัน” ในฐานะที่เป็นมโนทัศน์ใหม่สำหรับวิเคราะห์การเมืองเรื่องที่ดินในภาคการเกษตร ภายใต้กระแส “สังคมเขียว-คาร์บอนต่ำ” และในฐานะที่เป็นทางเลือกอื่นนอกเหนือไปจาก กรอบการวิเคราะห์การสะสมทุนแบบมาร์กซิสต์ โดยในการนำเสนอที่มาของมโนทัศน์ ทั้งสอง บทความได้อภิปรายแนวคิดเบื้องหลังวาระเขียว-คาร์บอนต่ำและแนวการศึกษา เกี่ยวกับการเมืองว่าด้วยเรื่องเกษตรกรรมในประเด็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็น เครื่องมือในการวิพากษ์แนวคิดดังกล่าว ทั้งนี้ บทความยังได้ชี้ให้เห็นว่าที่มาของ มโนทัศน์ทั้งสองซึ่งผสานแนวการศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบมาร์กซิสต์ นิเวศวิทยา การเมือง และมุมมองแบบหลังโครงสร้างนิยม สะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนทิศทาง ของคำถามหลักในการศึกษาการเมืองว่าด้วยเรื่องเกษตรกรรม โดยการผนวกมุมมองใน เชิงนิเวศวิทยาที่สนองตอบต่อปรากฏการณ์ใหม่ๆ ที่มีผลกระทบต่อสังคมเกษตรกรรม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ วาระเขียว-คาร์บอนต่ำ

คำสำคัญ

สังคมคาร์บอนต่ำเศรษฐกิจสีเขียว การแย่งยึดที่ดิน การแย่งยึดสีเขียว การกีดกัน

เอกสารอ้างอิง

1.       ณัฐกานต์.อัครพงศ์พิศักด, 2559, “Rt6 – วาระเขียว-คาร์บอนต่ำ และมโนทัศน์ใหม่สำหรับการศึกษาการเมืองเรื่องที่ดินในภาคการเกษตร”, Journal of Mekong Societies, Vol. 12, No. 2, pp. 163-186.

Write a comment

sixteen − 12 =