รูปแบบมาตรการทางการเงินที่เหมาะสมสำหรับการสนับสนุนระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านในประเทศไทย

วารสารวิจัยพลังงาน (2556)

ดิศรณ์ ชัยช่วงโชค, โสภิตสุดา ทองโสภิต และแนบบุญ หุนเจริญ

บทคัดย่อ

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านพักอาศัยในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ เนื่องจากยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนสาหรับการให้ประชาชนทั่วไปสนใจลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ซึ่งมาตรการในอดีตที่ผ่านมานั้น ก่อให้เกิดปัญหาและความไม่เป็นธรรมกับผู้ลงทุนและประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า ในการศึกษานีจึ้งได้กำหนดโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้าแบบ Fixed Feed-in Tariff (FIT) และคานวณอัตรา FIT ที่เหมาะสม ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่กาหนดโดยคานึงถึงต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าซึ่งมีค่าต่างกันตามเทคโนโลยีโดยการศึกษานได้ออกแบบรูปแบบมาตรการทางการเงินไว้ 3 รูปแบบ แต่ละรูปแบบมีความเหมาะสมกับกลุ่มผู้มีรายได้ในระดับที่ต่างกันและให้ผลตอบแทนที่ดี ทั้งยังส่งผลกระทบกับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปน้อยอีกด้วย

คำสำคัญ

ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์, อัตราฟีดอิน, ราคารับซื้อไฟฟ้า, ประเทศไทย, นโยบายพลังงาน

เอกสารอ้างอิง

1.       ดิศรณ์.ชัยช่วงโชค, โสภิตสุดา.ทองโสภิต, and แนบบุญ.หุนเจริญ, 2556, “Rt5 – รูปแบบมาตรการทางการเงินที่เหมาะสมสำหรับการสนับสนุนระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านในประเทศไทย”, วารสารวิจัยพลังงาน, Vol. 10, No. 3, pp. 1-14.

Write a comment

fifteen − five =