มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานที่สะอาด

วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (2558)

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานที่สะอาด โดยศึกษามาตรการที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เปรียบเทียบกับกรณีของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า สหรัฐอเมริกามีกฎหมายเชิงนโยบายที่สนับสนุนการพัฒนาพลังงานที่สะอาดอย่างเป็นระบบ วางแนวนโยบายในการส่งเสริมการใช้พลังงานที่ยั่งยืนโดยกำหนดเป้าหมายในการลดการใช้พลังงาน สนับสนนุ การทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรวมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ประหยัดพลังงาน และกฎหมายความมั่นคงด้านพลังงานของชาติ ที่มุ่งเพิ่มการผลิตเชื้อเพลิงทดแทนที่สะอาด เพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ การใช้อาคาร ยานพาหนะ และการลดก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของรัฐบาลในด้านพลังงานสหภาพยุโรป กำหนดนโยบายด้านพลังงานพื้นฐานบนเครื่องมือด้านการตลาด เช่น มาตรการทางภาษี การให้เงินอุดหนุน การซื้อขายปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานให้มีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงาน คาร์บอนต่ำและการใช้เครื่องมือทางการเงิน โดยผสมผสานมาตรการทั้งหลายเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งได้จัดทำแผนเทคโนโลยีพลังงานเชิงกลยุทธ์ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างการค้นหาพลังงานสะอาดกับเทคโนโลยีในการดึงเอาแหล่งพลังงานสะอาดจากธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ประเทศไทย กฎหมายได้กำหนดมาตรการการจัดการด้านพลังงานไว้ค่อนข้างเป็นระบบโดยให้ความสำคัญกับการจัดการพลังงานในอาคารและโรงงานเป็นหลัก แต่ยังไม่ครอบคลุมในส่วนของพลังงานที่ใช้ในกิจการขนส่ง อย่างไรก็ดี ได้มีการวางนโยบาย แผนปฏิบัติ และโครงการต่างๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทางเลือกที่หลากหลาย โดยดำเนินการผ่านคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ

คำสำคัญ

พลังงานสะอาด, การพัฒนาที่ยั่งยืน, พลังงานหมุนเวียน, กฎหมายเชิงนโยบาย

เอกสารอ้างอิง

1.       อุดมศักดิ์.สินธิพงษ์, 2558, “At1 – มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานที่สะอาด”, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, Vol. 8, No. 1.

Write a comment

seven + five =