ประเด็นสำคัญจากการสัมมนา “Climate Dialogue 2020: Monitoring and Evaluation Capacity Building”

“การพัฒนาศักยภาพ” เป็นพื้นฐานสำคัญในการที่จะทำให้แต่ละประเทศสามารถบรรลุข้อตกลงปารีส หรือ Paris Agreement ได้ และมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Nationally Determined Contribution: NDC) เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการพัฒนาศักยภาพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ที่มีกิจกรรมด้านการพัฒนาศักยภาพจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบและประเมินผลได้อย่างเหมาะสม การติดตามประเมินผลโครงการด้านการพัฒนาศักยภาพจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมนั้นๆ ผ่านการวางแผนที่ดีและเหมาะสม มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้น

การสัมมนาในหัวข้อ “Monitoring and Evaluation Capacity Building” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน UN Climate Change Dialogues 2020 หรือ Climate Dialogue ซึ่งจัดขึ้นในระบบออนไลน์ เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา โดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) เพื่อนำเสนอตัวอย่างหรือแนวปฏิบัติที่ดี ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านการพัฒนาศักยภาพด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในการเสวนาดังกล่าวได้มีการนำเสนอถึงการออกแบบการติดตามและประเมินผลที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ซึ่งได้แก่

  • ลักษณะของการติดตามและประเมินผล ที่ต้องคำนึงถึงผู้ใช้หลัก ระยะเวลาของการติดตามและประเมินผลเมื่อเทียบกับการดำเนินงาน (ก่อน ระหว่าง หลัง) และคำถามที่จะใช้ในการประเมิน
  • ลักษณะของสิ่งที่เกิดระหว่างการติดตามและประเมินผล อาทิ ผลลัพธ์ว่าสามารถคาดการณ์ได้ดีเพียงใดและจะบรรลุได้อย่างไร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ ระยะเวลาที่ล่าช้าก่อนที่จะเกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน เป็นต้น
  • ทรัพยากรและข้อจำกัด อาทิ ปริมาณ คุณภาพ และความเกี่ยวข้องของข้อมูล เวลา เงินทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากภายนอก ความตั้งใจและการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อุปสรรคในการมีส่วนร่วมและการเดินทาง เป็นต้น

นอกจากนี้ประเด็นที่ได้มีการหารือร่วมกันคือบทเรียนและความท้าทายที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ ยังมีข้อคำถามที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพที่ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นจะต้องคำนึงถึง เช่น คำจำกัดความหรือความหมายของคำว่า “การพัฒนาศักยภาพ” ที่ผ่านมามีกิจกรรมแบบใดหรือประเภทใดบ้างที่เคยทำภายใต้ UNFCCC มาแล้ว มีความคิดหรือไอเดียใหม่ๆ อะไรเกิดขึ้นบ้าง อะไรคือสิ่งที่ยังเป็นช่องว่างและสิ่งที่ต้องการการพัฒนาเพิ่มเติมจากการดำเนินงานในปัจจุบัน

ในเวทีสัมมนาได้มีความเห็นตรงกันคือ การติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพนั้นควรพิจารณาให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศให้ดีขึ้น การใช้ประโยชน์จากการแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ สนับสนุนและสร้างสถาบันหรือหน่วยงานของประเทศ ทำให้การติดตามและประเมินผลเป็นมากกว่าการเก็บรวบรวมข้อมูล ยุคนี้เป็นยุคของความร่วมมือและการทำงานร่วมกัน และที่สำคัญคือเราจะต้องมีความเชื่อใจกัน

ที่มา / แหล่งข้อมูล

https://unfccc.int/event/capacity-building-talk-on-monitoring-and-evaluation-of-capacity-building

Write a comment

Key takeaways from the “Climate Dialogue 2020: Monitoring and Evaluation Capacity Building”

“Capacity building” is fundamental to achieving the Paris Agreement and has been identified as a priority in countries’ nationally determined contributions (NDCs). It is also a key issue in various activities undertaken under the United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC). To enhance the effectiveness of capacity-building efforts related on climate change, implementation activities aimed at capacity-building need to be properly monitored and evaluated. Monitoring of capacity-building projects is essential to their success and through well-planned and suitable monitoring and evaluation (M&E) practices, efficient allocation of resources and increased effectiveness can be better ensured.

          The virtual talk on “Monitoring and Evaluation Capacity Building” was the part of the UN Climate Change Dialogues 2020, or Climate Dialogue, has held online on November 27, 2020 by the UNFCCC secretariat to facilitate discussion and provision of information among actors and stakeholders involved in climate capacity-building. These talks will offer a space to exchange knowledge and share best practices, including with a view to strengthening the focus of and work on capacity-building.

          In the panel discussion, the ‘designing fit-for-purpose monitoring and evaluation were presented:

  • Nature of the monitoring and evaluation including the primary intended users, primary intended users-learning, accountability, signaling, timing of monitoring and evaluation compared to implementation (before, during, afterwards) and types of key evaluation questions being asked
  • Nature of what is being monitored and evaluated including, how well understood and predictable intended results and how to achieve them, multiple actors contributing to results, effect of context on activities and results, time-lag before results evident, and Visibility of activities and results
  • Resources and constraints for example: quantity, quality and relevance of existing data, Internal time, funding to engage external support, goodwill and support of key stakeholders, barriers to travel and engagement

In addition, the issues that are discussed together were lessons learnt and challenges that need to be addressed, for example there are questions about the capacity development that developing countries need to take into account, such as the definition of the term, what has been done under UNFCCC? Are there any other initiatives? And what are the key gaps in current efforts?

Moreover, there were consensus in the seminar such as monitoring and evaluation should be taken better account of country contexts, taking advantage of sharing experiences and knowledge utilization, support and create country institutions, go beyond data collection, this is the era of partnerships and collaboration. And most importantly we need to trust each other.

Reference

https://unfccc.int/event/capacity-building-talk-on-monitoring-and-evaluation-of-capacity-building

Write a comment