บ้านพักอาศัยพื้นถิ่นในชุมชนริมน้ำภาคกลางของประเทศไทยกับความสามารถในการรับมือกับน้ำท่วมในปัจจุบัน

วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย (2558)

Pratima Nimsamer, Tharinee Ramasoot

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาพัฒนาการของบ้านพื้นถิ่นรูปแบบต่างๆ ในชุมชนริมน้ำ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และผลกระทบของน้ำท่วมต่อบ้านเหล่านั้น รวมทั้งความสามารถในการรับมือกับน้ำท่วม ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้มีน้ำท่วมเกิดขึ้นทั้งแบบเป็นปกติ (ประจำปี) และผิดปกติ (น้ำท่วมรุนแรง)  ผลการศึกษาพบว่าบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนมีรูปแบบที่สามารถรับมือต่อน้ำท่วมในระดับปกติที่เกิดขึ้นเป็นประจำปีค่อนข้างดี คือมีความเสียหายน้อย และสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในบ้านได้ยามน้ำท่วม โดยเฉพาะบ้านที่มีใต้ถุนสูง แต่ในยามน้ำท่วมผิดปกติเช่นในปี 2554 นั้น ความสามารถในการรับมือกับน้ำท่วมของบ้านจะลดลงมาก

จากการศึกษาพบว่ารูปแบบบ้านพื้นถิ่นที่พบในชุมชนที่มีความสามารถในการรับมือต่อความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงน้ำท่วมในปัจจุบันในบริบทของชุมชนริมน้ำภาคกลางได้ดีที่สุด คือบ้านปูน (บ้านโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก) มีใต้ถุน เพราะบ้านแบบนี้มีความเสียหายจากน้ำท่วมน้อยที่สุด ทั้งองค์ประกอบด้านงานโครงสร้างและด้านงานสถาปัตยกรรม จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าการใช้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นประยุกต์กับวัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัยขึ้นสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือต่อปัญหาน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ

บ้านพื้นถิ่น ; ชุมชนริมน้ำ ; น้ำท่วม ; การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ/ Vernacular Houses ; Riparian Community ; Floods ; Climate Change

เอกสารอ้างอิง

1.       Nimsamer, P. and Ramasoot, T., 2558, “Rt4 – บ้านพักอาศัยพื้นถิ่นในชุมชนริมน้ำภาคกลางของประเทศไทยกับความสามารถในการรับมือกับน้ำท่วมในปัจจุบัน”, วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, Vol. 12, No.

Write a comment

two × three =