ความสำเร็จของเครือข่ายชุมชนอินแปงจากการมีส่วนร่วมในการบรรเทาสภาวะโลกร้อนผ่านทางภาคป่าไม้

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ (2556)

ธีรวงศ์ เหล่าสุวรรณ, พรชัย อุทรักษ์, อุษา กลิ่นหอม, ชาลี นาวานุเคราะห์, เชษฐพงษ์ บุตรเทพ,
เจ เอช สาเม็ก และเดวิด แอล สโคล

บทคัดย่อ

โครงการธนาคารคาร์บอนอินแปงเป็นโครงการวิจัยด้านการชดเชยคาร์บอนจากภาคป่าไม้ที่มีเกษตรกรเครือข่ายชุมชนอินแปงในห้าจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมโครงการ โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช), มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท(Michigan State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา และเครือข่ายเกษตรกรชุมชนอินแปง ภายใต้โครงการนี้ทีมงานวิจัย และเกษตรกรได้ทำการตรวจวัดชีวมวลของต้นไม้ทางภาคสนาม รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing), ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ในการจัดทำบัญชีคาร์บอนภาคป่าไม้สำประเทศไทย เสนอต่อตลาดแลกเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศโลกแห่งนครชิคาโก (Chicago Climate Exchange: CCX) สามารถคำนวณปริมาณคาร์บอนและประเมินมูลค่าเครดิตจากพื้นที่จำนวน 625 ไร่ ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ คิดเป็นเครดิตได้ 75,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ขายได้ในราคาตันละ 4.25 เหรียญสหรัฐรวมเป็นจำนวนเงินที่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจากเครือข่ายชุมชนอินแปงได้รับคือ 37,000 เหรียญสหรัฐหรือประมาณหนึ่งล้านบาทกว่าสำหรับการขายคาร์บอนใน 2 ปี คือปี พ.ศ.2553 ถึง พ.ศ.2554 ซึ่งนับว่าเป็นการขายคาร์บอนเครดิตจากภาคป่าไม้ครั้งแรกของประเทศไทยและอาเซียน

คำสำคัญ

เครือข่ายชุมชนอินแปง การบรรเทาภาวะโลกร้อน ภาคป่าไม้

เอกสารอ้างอิง

1.       ธีรวงศ์.เหล่าสุวรรณ, พรชัย.อุทรักษ์, อุษา.กลิ่นหอม, ชาลี.นาวานุเคราะห์, เชษฐพงษ์.บุตรเทพ, เจ.เอช.สาเม็ก, and เดวิด.แอล.สโคล, 2556, “Rt5 – ความสำเร็จของเครือข่ายชุมชนอินแปงจากการมีส่วนร่วมในการบรรเทาสภาวะโลกร้อนผ่านทางภาคป่าไม้”, วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, Vol. 16, No. 2.

Write a comment

thirteen − 12 =