ความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับภาวะโลกร้อนในประเทศไทยตามสมมติฐาน เส้นโค้งสิ่งแวดล้อมของ KUZNETS

บทคัดย่อ

ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจถือเป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่สำคัญประการหนึ่ง แต่ความเจริญเติบโตนี้ก็ต้องแลกกับการทำลายทรัพยากรธรรมชาติเช่นกันซึ่งมาจากการบริโภคสินค้าและบริการที่ต้องใช้ปัจจัยการผลิตมาจากธรรมชาติ ทำให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน ดังนั้น จึงมีการศึกษาถึงผลที่เกิดขึ้นกับคุณภาพของสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศภายใต้การขยายตัวทางด้านความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แนวคิดเกี่ยวกับสภาวะสิ่งแวดล้อมกับความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่นิยมกันแพร่หลายคือ สมมติฐานสิ่งแวดล้อมของ Kuznets (Environmental Kuznets Curve Hypothesis) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ในครั้งนี้ได้ใช้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวแทนในการศึกษาของภาวะโลกร้อนและเป็นตัวแปรตามกับตัวแปรอิสระอื่น ๆ โดยผลสรุปที่ได้ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อ หัวมีความสัมพันธ์เป็นไปตามข้อสมมติฐานสิ่งแวดล้อมของ Kuznets ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อภาวะโลกร้อน คือ สัดส่วนของปริมาณการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ต่อเชื้อเพลิงทั้งหมด มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและสัดส่วนเนื้อที่ป่าไม้ของประเทศไทยต่อพื้นที่ทั้งหมดกับพื้นที่เพาะปลูกเกษตรกรรมมีความสัมพันธ์ในเชิงลบ

คำสำคัญ

ภาวะโลกร้อน; ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ; สมมติฐานสิ่งแวดล้อมของคุซเน็ตส์; Global Warming; Economic Growth; Environmental Kuznets Curve Hypothesis

เอกสารอ้างอิง

1.       ธนดล.พรพุทธพงศ์, 2557, “Rt6 – ความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับภาวะโลกร้อนในประเทศไทยตามสมมติฐาน เส้นโค้งสิ่งแวดล้อมของ Kuznets”, วารสารร่มพฤกษ์ (ROMPHRUEK JOURNAL), Vol. 31, No. 2.

Write a comment

17 − 16 =