การศึกษาเศรษฐกิจสีเขียว ในบริบทภาคการเกษตร

สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 12 พฤศจิกายน 2556

บทคัดย่อ

การศึกษาเศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของภาคการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กรอบแนวคิด แนวทางการดาเนินการของเศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจสีเขียวในบริบทภาคเกษตรของไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว

ในการศึกษาเศรษฐกิจสีเขียวในบริบทภาคเกษตรของไทยนั้น อาศัยข้อมูลกรอบแนวคิดในบทที่ 2 และแนวทางการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวในบทที่ 3 มาเป็นพื้นฐานในการศึกษา ซึ่งกรอบแนวคิด และแนวทางดาเนินงานของประเทศต่างๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคง และระบบนิเวศมีความสมดุล นาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเสนอแนวทางการดาเนินการเศรษฐกิจสีเขียวในเชิงนโยบายกว้างๆ เน้นการใช้นโยบายภาครัฐในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการผลักดันมาตรการ/กฎระเบียบ/กฎหมาย เพื่อจูงใจ/ห้ามการดาเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการดาเนินเศรษฐกิจควบคู่กับสิ่งแวดล้อม รวมถึงมุ่งเน้นการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการผลิต การค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม การร่วมกันรักษา ปกป้อง และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

ส่วนการดาเนินงานของไทยในปัจจุบัน ได้บรรจุแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวไว้ในแผนฯ ฉบับที่ 11 เพื่อมุ่งเน้นสู่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ “เศรษฐกิจสีเขียว” ที่ชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่กาหนดยุทธศาสตร์หรือออกกฎหมายที่สอดรับกับกระแสเศรษฐกิจสีเขียว โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมุ่งสู่เศรษฐกิจ สีเขียว อาทิ พ.ร.บ. มาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม (กระทรวงการคลัง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (กระทรวงอุตสาหกรรม) แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เป็นต้น

ผลการศึกษาเศรษฐกิจสีเขียวในบริบทภาคเกษตรของไทยพบว่า ภาคการเกษตรเป็นสาขาหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งนิยามและองค์ประกอบของการเกษตรในบริบทของเศรษฐกิจสีเขียวและการเกษตรยั่งยืนในภาพรวมไม่แตกต่างกัน การดาเนินเศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของภาคเกษตร ควรคานึงถึงการบูรณาการสามเสาหลักเช่นกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยต้องให้ความสาคัญกับ (1) พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร (2) การใช้/อนุรักษ์/ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ (3) การสร้างความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ สาหรับการดาเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผ่านมา พบว่ามีการดาเนินการ/แผนงานต่างๆ ที่สอดคล้องกับแนวทางการดาเนินเศรษฐกิจสีเขียวที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ การประยุกต์แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้อยู่ในระบบของการทาเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ รวมถึงการพัฒนาพืชพลังงานทดแทน ปัจจุบัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ยกร่างแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) โดยได้บรรจุประเด็นเศรษฐกิจการเกษตรสีเขียว (Green and Cool Agricultural Economy) ไว้ด้วย ii

ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความมั่นคงอาหาร และยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุล และยั่งยืน ซึ่งมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของเศรษฐกิจสีเขียว

อย่างไรก็ตาม เพื่อเตรียมความพร้อมและการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายให้สอดคล้องกับการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของโลก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องเร่งสนับสนุน/ส่งเสริมให้เกิดการดาเนินการต่างๆ เพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว อาทิ สร้างการรับรู้/การตระหนักถึง/และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว ส่งเสริมและขยายผลการดาเนินงานของ กษ. ที่สอดคล้อง และ/หรือผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียว โดยผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเหมาะสม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี-นวัตกรรมสีเขียวใหม่ๆ ที่เน้นการประหยัดทรัพยากรและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีขนาดเล็กสาหรับเกษตรกรรายย่อย สนับสนุนการลงทุนเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียว รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว การให้เงินอุดหนุน และสร้างแรงจูงใจ เช่น มาตรการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่าแก่เกษตรกร หรือ การช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิตเพื่อสนับสนุนให้ปรับระบบ/รูปแบบการทาเกษตร เช่น เกษตรอินทรีย์ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้กลไกตลาดสนับสนุนให้เกิดตลาดของผลิตภัณฑ์สีเขียว รวมถึงการสร้างระบบมาตรฐาน รวมทั้งการออกมาตรการเพื่อระบุเงื่อนไขในการจัดซื้อสินค้าบางประเภท เช่น สินค้าเกษตรที่มาจากระบบเกษตรกรรมยั่งยืน สินค้าที่ติดฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือฉลากสีเขียว เพื่อให้สินค้าเหล่านี้มีตลาดจาหน่ายและสามารถแข่งขันได้ต่อไปในอนาคต การใช้กลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อแสวงองค์ความรู้ เทคโนโลยี และแหล่งทุน เพื่อให้สามารถยกระดับมาตรฐานและเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงติดตามนโยบาย/มาตรการ/การดาเนินงานเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศต่างๆ เนื่องจากปัจจุบัน มีการใช้ประเด็นสิ่งแวดล้อมมาเป็นเครื่องกีดกันทางการค้าในหลายประเทศ ซึ่งการดาเนินการด้านต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ควรให้ความสาคัญกับการจัดลาดับความสาคัญของกิจกรรมเป็นหลัก เพื่อประโยชน์ในการจัดทาแผนพัฒนาการเกษตรต่อไป

เอกสารอ้างอิง

1.       สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2556, “Rt1 – การศึกษาเศรษฐกิจสีเขียว ในบริบทภาคการเกษตร”, Vol., No.

Write a comment

2 + 10 =