การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานพาณิชย์

วารสารวิจัยพลังงาน Vol 10, No 3 (2556)

อาภาพัชร หุ่นศิริตระกูล, วีรีนทร์ หวังจิรนิรันดร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการสันดาปเชื้อเพลิงของอากาศยานพาณิชย์ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์การใช้พลังงานและการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอากาศยานพาณิชย์ของประเทศไทยภายใต้วงจร Landing and Take-Off (LTO) และขณะทำการบินโดยทำการวิเคราะห์และประเมินข้อมูลในปีฐาน คือปี 2011 ผลการศึกษาพบว่าปี  2011 ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลคือ  495,037.13 ตัน และปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,577,922.75 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และพยากรณ์การใช้เชื้อเพลิงต่อไปในปี 2012- 2020 โดยประเมินจากมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆในการทบทวนระยะสั้นนั้น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไม่สามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของข้อกำหนดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เชื้อเพลิงชีวภาพเป็นหนึ่งในแนวทางที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่สามารถตอบสนองสายการบิน ในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดความเสี่ยงจากราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ผันผวนและสูงขึ้น ผลการศึกษาครั้งนี้ จึงเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี และการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน รวมถึงเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา การจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคขนส่งทางอากาศ

คำสำคัญ

ก๊าซเรือนกระจก; อากาศยานพาณิชย์; ประสิทธิภาพพลังงาน; พลังงานทดแทน; GHGs Emission; Aircraft emission; Energy Efficiency; Aviation Alternative Fuel

เอกสารอ้างอิง

1.       อาภาพัชร.หุ่นศิริตระกูล and วีรีนทร์.หวังจิรนิรันดร์, 2556, “Rt3 – การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานพาณิชย์”, วารสารวิจัยพลังงาน, Vol. 10, No. 3.

Write a comment

17 − six =