การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ – การปรับวิธีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนา

ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วันที่ 10 มิถุนายน 2558

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กับยุทธศาสตร์การพัฒนา กรณีตัวอย่าง : ตำบล เหล่าอ้อย จังหวัด กาฬสินธุ์

สภาพพื้นที่ตำบล เหล่าอ้อย เป็นพื้นที่ที่ราบสูงลูกคลื่นลอนตื้น ลาดชั้นจากตอนเหนือไปยังตอนใต้ของตำบล พื้นที่เป็นที่ดอนร้อยละ 60 และที่ลุ่มติดกับลำน้ำ 2 สาย ได้แก่ ลำน้ำปาว และลำน้ำชี บ้านเรือนตั้งอยู่บริเวณกลางของพื้นที่  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และมักประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำทุกปีในฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งมักมีน้ำใช้ไม่เพียงพอกับการเกษตร ทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ชาวบ้านในตำบลแก้ปัญหาโดยเปลี่ยนช่วงการทำนาในฤดูฝนและตั้งสถานีสูบน้ำเพื่อดึงน้ำในลำน้ำปาวมาใช้สำหรับทำนาและการเกษตรในฤดูแล้ง วิธีการจัดการดังกล่าวนี้เป็นวิธีการจัดที่ไม่ยั่งยืนในอนาคตและมีความเสี่ยงต่อการแย่งน้ำกันใช้ ดังนั้นการปรับวิธีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตทำได้โดย ชุมชนต้องหาแหล่งน้ำใหม่โดยเปลี่ยนจากการปั้มน้ำจากแม่น้ำขึ้นมาใช้เป็นการหาทางที่จะกักเก็บน้ำจากฤดูฝนเพื่อใช้ในฤดูแล้ง และควรพัฒนาลำน้ำหรือหนองน้ำโดยการขุดลอกให้ลำน้ำสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้อย่างเพียงพอเพื่อจะได้สามารถทำการเกษตรได้ในฤดูแล้ง วิธีการนี้เป็นการลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างยั่งยืน

เผยแพร่โดย THAILAND ADAPTATION

(www.youtube.com)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558, Ct4 – การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ – การปรับวิธีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนา, [online], Available: https://www.youtube.com/watch?v=jq3gPJlHX6g [10 มิถุนายน 2558].

Write a comment

12 + 9 =