การประมาณค่าการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวในจังหวัดพะเยา

วารสารนเรศวรพะเยา (NARESUAN PHAYAO JOURNAL) (2556)

ศิริลักษณ์ พิมมะสาร, นครินทร์ ชัยแก้ว และ สิทธิชัย พิมลศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวในจังหวัดพะเยาปีพ.ศ.2554 ตามวิธีที่กำหนดไว้ในคู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก ปี พ.ศ. 2539 ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (IPCC) โดยการใช้ค่าการปล่อยจาก 3 แหล่งที่มา ได้แก่ 1) ค่าการปล่อยเฉพาะของประเทศ (CSEF) ที่ได้จากการพัฒนาจากการศึกษานี้โดยการประมาณค่าจากงานวิจัยและรายงานการศึกษาการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวในประเทศไทย 2) ค่าการปล่อย (EF) ที่เป็นค่าแนะนำไว้ในคู่มือการคำนวณของ IPCC พ.ศ. 2539 และ 3) ค่าแนะนำที่อ้างอิงในรายงานแห่งชาติฉบับที่ 2 (SNC) ปี พ.ศ.2553 ผลการศึกษาพบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวของจังหวัดพะเยา พ.ศ.2554 จากการคำนวณโดยใช้ค่า CSEF มีปริมาณเท่ากับ 30,933 เมกะกรัมต่อปี โดยมีปริมาณการปล่อยก๊าซมากกว่าการคำนวณด้วยค่าการปล่อยของ IPCC และ SNC ประมาณร้อยละ 24 และ 47 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงตามพื้นที่พบว่าอำเภอดอกคำใต้เป็นอำเภอที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซสูงที่สุดมีปริมาณการปล่อย 7,257.47 เมกะกรัมต่อปี คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณการปล่อยของก๊าซทั้งหมด พื้นที่ปลูกข้าวที่มีปริมาณการปล่อยมากส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาน้ำฝนบริเวณทิศเหนือของจังหวัดพะเยาในเขตพื้นที่อำเภอจุน และอำเภอเชียงคำ ส่วนพื้นที่ที่มีปริมาณการปล่อยน้อยที่สุดส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณที่ราบตอนกลางของพื้นที่อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน ที่มีลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาและป่าไม้

คำสำคัญ

มีเทน; นาข้าว; ก๊าซเรือนกระจก; จังหวัดพะเยา; Methane; rice field; greenhouse gas; Phayao province

เอกสารอ้างอิง

1.       ศิริลักษณ์.พิมมะสาร, นครินทร์.ชัยแก้ว, and สิทธิชัย.พิมลศรี, 2556, “Rt2 – การประมาณค่าการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวในจังหวัดพะเยา”, วารสารนเรศวรพะเยา (NARESUAN PHAYAO JOURNAL), Vol. 6, No. 2.

Write a comment

12 − 8 =