กรอบการตัดสินใจในการเลือกการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วันที่ 24 พฤษภาคม 2559

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กับยุทธศาสตร์การพัฒนา กรณีตัวอย่าง : อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

ในพื้นที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา แหล่งน้ำในการทำการเกษตรของพื้นที่คือทะเลทราบสงขลา ปัจจุบันได้เกิดปัญหาปริมาณน้ำใช้เพื่อการเกษตรในฤดูแล้งไม่เพียงพอและยังประสบปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำเข้าทะเลทราบสงขลาจนน้ำมีค่าความเค็มที่ไม่เหมาะสมสำหรับทำการเกษตร ซึ่งในอนาคตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น ฤดูแล้งจะยาวนานขึ้นและร้อนขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำในทะเลทราบสงขลาน้อยลงและเกิดการรุกล้ำของน้ำเค็มที่มีมากขึ้น สร้างความเสียหายให้แก่พืชผลการเกษตร ดังนั้นเกษตรกรต้องมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการรุกล้ำของน้ำเค็มในอนาคต แนวทางสำหรับการปรับตัวของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอระโนด เช่น 1) สำหรับเกษตรกรที่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินส่งเสริมให้มีการขุดบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ และทำไร่นาสวนผสมเพื่อสร้างรายได้ตลอดทั้งปีและกระจายความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น 2) สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส่งเสริมให้แบ่งพื้นเพื่อปลูกข้าวพันธุ์ดีมูลค่าสูงในฤดูฝน ปลูกพริกเขียวมัน และปลูกเขียวอินทรีย์ในฤดูแล้ง 3) ส่งเสริมให้เกษตรกรแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกสำหรับเลี้ยงวัว พื้นที่ส่วนที่ 2 สำหรับปลูกหญ้าเนเปียเพื่อเป็นอาหารของวัว และพื้นที่ส่วนที่ 3 สำหรับปลูกข้าวพันธุ์ดีมูลค่าสูง ทั้ง 3 แนวทางการปรับตัวนี้เกษตรกรสามารถเลือกปฏิบัติวิธีใดวิธีหนึ่งที่สอดคล้องกับวิธีชีวิตของตนเองได้ เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่รุนแรงในอนาคต และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อพืชผลการเกษตรด้วย

เผยแพร่โดย THAILAND ADAPTATION

(www.youtube.com)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, Ct4 – กรอบการตัดสินใจในการเลือกการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, [online], Available: https://www.youtube.com/watch?v=qYqAKf60uCY [24 พฤษภาคม 2559].

Write a comment

5 + six =