แนวทางการบริหารจัดการพลังงานทดแทน ในระดับชุมชนของประเทศไทย

วารสารวิจัยพลังงาน (2557)

ณิชยารัตน์ พาณิชย์, วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการพลังงานทดแทนระดับชุมชนในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย และวิเคราะห์ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งด้านบริหารจัดการที่มีผลต่อการบริหารจัดการพลังงานทดแทนในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมทั้งเพื่อเสนอการบริหารจัดการพลังงานทดแทนในระดับที่เหมาะสมของประเทศไทย โดยเลือกผู้ตอบแบบสอบถามแบบเจาะจงเป็นเจ้าหน้าที่พลังงานจังหวัดของทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย (76 จังหวัด) ได้รับการตอบกลับมาทั้งสิ้น 62 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 81.58 การวิเคราะห์ผลการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์การจัดการพลังงานทดแทนระดับชุมชน พลังงานจังหวัดมีการนำพลังงานทดแทนมาใช้ภายในชุมชนทุกจังหวัด พบว่าทุกภาคของประเทศไทยมีการใช้พลังงานทดแทนมากที่สุดเหมือนกัน คือ พลังงานชีวมวล และรองลงมาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนพลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานขยะ และก๊าซชีวภาพมีการเลือกใช้แต่มีจำนวนน้อย ทางกายภาพ ปัจจัยทางภูมิประเทศให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนที่มีวัตถุดิบที่อยู่ใกล้แหล่งผลิต และให้ปริมาณผลผลิตเพียงพอ พร้อมทั้งพิจารณาถึงคุณภาพ/คุณสมบัติที่เหมาะสมของวัตถุดิบกับเทคโนโลยีและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่วนในด้านการขนส่งมีผลต่อการเลือกใช้พลังงาน ในทางสังคมและวัฒนธรรมพบว่าปัจจัยทางด้านสภาพความเป็นอยู่ ความเชื่อ ค่านิยมมีส่วนช่วยสนับสนุนแนวคิดการเลือกใช้พลังงาน ส่วนทางเศรษฐกิจพบว่ารายจ่าย รายรับ อาชีพและการรวมกลุ่ม รวมทั้งการนำเข้าพลังงานมีผลต่อการเลือกใช้ รวมทั้งทางด้านการบริหารจัดการ บุคลากรที่มีจำนวนเพียงพอและมีความรู้ความเข้าใจก็มีผลต่อการเลือกใช้พลังงาน ส่วนด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการ มีการขอสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐ ภาคเอกชนและแหล่งเงินทุนอื่นๆ รวมทั้งขั้นตอนการมีส่วนร่วมนั้นแต่ละขั้นตอนมีผลต่อการเลือกใช้ประเภทของพลังงานทดแทนแตกต่างกันไปตามพื้นที่ ส่วนในด้านของการควบคุม กำกับดูแล การติดตามประเมินผลและในด้านของความรู้ความเข้าใจของประชาชนและการนำวิทยากรมาให้ความรู้ทุกภาคคิดว่ามีผลต่อการเลือกใช้พลังงาน ดังนั้นแนวทางการบริหารจัดการพลังงานทดแทนในระดับประเทศไทยควรเริ่มต้นจากชุมชนในจังหวัด แล้วค่อยๆ ขยายต่อไปเรื่อยๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงที่เหมาะสมและมีวัตถุดิบเพียงพอ พร้อมทั้งประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานทดแทนและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพลังงานในชุมชนของตนเอง

คำสำคัญ

พลังงานชุมชน; การบริหารจัดการพลังงาน; การใช้พลังงานทดแทน

เอกสารอ้างอิง

1.       ณิชยารัตน์.พาณิชย์ and วิสาขา.ภู่จินดา, 2557, “Rt1 – แนวทางการบริหารจัดการพลังงานทดแทน ในระดับชุมชนของประเทศไทย “, วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, Vol. 10, No. 1.

Write a comment

6 + 10 =