เผยอากาศโลกปี 59 ชี้ ภัยธรรมชาติรุนแรง คนย้ายถิ่น ต่อสู้แย่งทรัพยากร

รายงานสภาพภูมิอากาศของโลกใน 9 เดือน ของปี 2016 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นรุนแรง ส่งผลด้านลบต่อภาคการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ประชากรมากกว่า 60 ล้านคน ได้รับผลกระทบ…

สภาพภูมิอากาศของโลกในปี 2016

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับสภาพอากาศของโลกในช่วง เดือนมกราคม-กันยายน ค.ศ. 2016 ว่า สภาวะอากาศที่รุนแรงและสภาพภูมิอากาศของโลกได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนี โญที่เกิดขึ้นรุนแรงในปี 2015-2016 ซึ่งส่งผลกระทบด้านลบอย่างหนักต่อภาคการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารทำให้ ประชากรมากกว่า 60 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์นี้ (ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ; Food and Agriculture Organization: FAO)

อุณหภูมิ

อุณหภูมิทั่วโลกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2016 อยู่ที่ประมาณ 1.2 องศาเซลเซียสเหนือระดับยุคก่อนอุตสาหกรรม และ 0.88 องศาเซลเซียสเหนืออุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงปี 1961-1990 (ค่าปกติ) ในช่วงต้นของปี 2016 อุณหภูมิโลกอุ่นขึ้น โดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ที่มีค่าความผิดปกติของอุณหภูมิรายเดือนอยู่ที่ +1.12 องศาเซลเซียส และ +1.09 องศาเซลเซียสตามลำดับ

สำหรับค่าความผิดปกติของอุณหภูมิในเดือนตุลาคมนั้น European Centre for Medium Range Weather Forecasts(ECMWF) ชี้ให้เห็นว่ามีความคล้ายคลึงกับค่าความผิดปกติของอุณหภูมิในเดือนพฤษภาคม และกันยายน อุณหภูมิบนแผ่นดินส่วนใหญ่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี 1961-1990 สำหรับในส่วนของอาร์กติกรัสเซีย รอบๆ แม่น้ำอ็อบ (Ob River) และ Novaya Zemlya อุณหภูมิจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6-7 องศาเซลเซียส

ส่วนพื้นที่อาร์กติกบริเวณอื่นๆ ในรัสเซีย, อลาสกา และทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3 องศาเซลเซียส พื้นที่กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในแถบซีกโลกเหนือนอกเขตทรอปิคมีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยอย่าง น้อย 1 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิแถบขั้วโลกใต้มีความผิดปกติน้อย แต่ก็ยังคงมีหลายพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า รวมถึงแถบอเมริกาใต้ ตอนเหนือ, ตะวันออกของออสเตรเลีย 

มหาสมุทร

อุณหภูมิท้องทะเลส่วนใหญ่มีค่าสูงกว่าค่าปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว และการหยุดชะงักของระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญในผืนน้ำบริเวณทรอปิค รวมถึงเกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) ทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย และประเทศทางหมู่เกาะแปซิฟิก เช่น ประเทศฟิจิ ประเทศคิริบาส เป็นต้น และยังมีปะการังกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ที่ตายในเกรตแบร์ริเออร์รีฟ

นอกจากนั้น น้ำทะเลทั่วโลกมีระดับสูงขึ้นประมาณ 15 มิลลิเมตร ในระหว่างช่วงเดือนพฤศจิกายน 2014 ถึงกุมภาพันธ์ 2016 ซึ่งสาเหตุเกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ หลังจากนั้นระดับน้ำทะเลจึงเริ่มคงที่

ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก

ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก ตลอดทั้งปี ในปี 2015 พุ่งสูงขึ้นแตะ 400 ppm เป็นครั้งแรก และจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าเกิดสถิติใหม่ขึ้นในปี 2016 ที่เคปกริม (Cape Grim) ประเทศออสเตรเลีย ระดับของ CO2 เฉลี่ยในเดือนสิงหาคม 2016 อยู่ที่ 401.42 ppm ขณะที่ในเดือนสิงหาคม 2015 มีเพียง 398.13 ppm. ที่เมานาโลอา (Mauna Loa) เมืองฮาวาย ค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยรายสัปดาห์ของวันที่ 23 เดือนตุลาคมอยู่ที่ 402.07 ppm ขณะที่วันเดียวกันในปี 2015 ค่าความเข้มข้นอยู่ที่ 398.50 ppm นอกจากนั้นในเดือนพฤษภาคม 2016 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีค่าความเข้มข้นอยู่ที่ 407.7 ppm ซึ่งถือว่าเป็นค่าสถิติสูงที่สุดของค่าบันทึกรายเดือน

การปกคลุมของน้ำแข็งและหิมะ

การขยายพื้นที่ของน้ำ แข็งบริเวณทะเลอาร์กติกต่ำกว่าค่าปกติตลอดทั้งปี ค่าต่ำสุดรายฤดูในเดือนกันยายน คือ 4.14 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดครั้งที่สองที่เท่ากับค่าต่ำสุดในปี 2007 ส่วนในช่วงหน้าหนาว ค่าสูงสุดที่บันทึกได้ในเดือนมีนาคมก็ยังคงถือว่าต่ำที่สุดในบันทึกข้อมูล สถิติ อีกทั้งฤดูใบไม้ร่วงในปีนี้ยังนำพาความหนาวเหน็บมาถึงช้ากว่าปกติอีกด้วย

การละลายของแผ่นน้ำแข็งในแถบกรีนแลนด์ยังคงที่อยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ระหว่างปี 1990-2013 ซึ่งมีการละลายของน้ำแข็งเพิ่มขึ้นรุนแรงในเดือนกรกฎาคม แต่ก็ยังคงน้อยกว่าสถิติการละลายในปี 2012

เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรง


เหตุการณ์ที่มีจำนวน ผู้เสียชีวิตมากในรอบปีนี้ ได้แก่ เหตุการณ์พายุแมธธิว (Matthew) ในเดือนตุลาคม มีจำนวนผู้เสียชีวิต 546 คน และบาดเจ็บ 438 คน หลังจากพายุลูกนี้เคลื่อนผ่านประเทศเฮติไป ก็ได้สร้างความเสียหายต่อประเทศคิวบาและบาฮามาส ก่อนจะเคลื่อนตัวเลียบชายฝั่งตะวันออกของอเมริกาและก่อให้เกิดน้ำท่วมใหญ่จน เกิดเหตุการณ์ดินถล่มในตอนใต้ของเมืองคาโรลิน่า และพายุไต้ฝุ่นไลออนร็อก (Lionrock) ก่อให้เกิดอุทกภัยซึ่งมีประชาชนล้มตายจำนวนมากในเกาหลีเหนือ และพายุไซโคลนวินสตัน Winston ก็เป็นพายุที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศฟิจิมากที่สุด โดยรวมแล้วมีพายุทั้งหมด 78 ลูกทั่วโลก ในปี 2016 (นับถึงเดือน ตุลาคม 2016)

แม่น้ำแยงซีในประเทศจีนมีอุทกภัยใหญ่ในฤดูร้อนเรื่อยมาตั้งแต่ปี 1999 คร่าชีวิตผู้คนประมาณ 310 คน และสร้างความเสียหายประมาณ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อุทกภัยและแผ่นดินถล่มในประเทศศรีลังกาในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม คร่าชีวิตผู้คนและสูญหายไปกว่า 200 คน อีกทั้งยังต้องอพยพผู้คนอีกหลายร้อยหลายพันคน

ปริมาณฝนตามฤดูกาลที่มากกว่าปกติในซาเฮล (Sahel) ก่อให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ (NigerRiver Basin) โดยปริมาณน้ำในแม่น้ำสูงสุดในรอบ 50 ปี

ที่ประเทศมาลีมีคลื่นรังสีความร้อนเกิดขึ้นมากมายในปี 2016 เริ่มจากช่วงต้นปีเกิดคลื่นความร้อนรุนแรงในแถบแอฟริกาใต้ ภาวะแล้งต่อเนื่องส่งผลเลวร้ายเป็นอย่างมาก

สำหรับในเอเชีย เมืองมิตริบาห์ประเทศคูเวต ได้บันทึกอุณหภูมิสูงสุดที่ 54 องศาเซลเซียส ในวันที่ 21 กรกฎาคม ซึ่งจะถือเป็นสถิติอุณหภูมิที่สูงที่สุดในประเทศแถบเอเชียต่อไป

ความสูญเสียจากไฟป่าที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์แคนาดา เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่รัฐแอลเบอร์ตา เพลิงไหม้ลุกลามกินพื้นที่ประมาณ 590,000 เฮกเตอร์ ซึ่งนับเป็นมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติที่มากที่สุดในประเทศ มีการอพยพผู้คนเกือบทั้งเมืองและประมาณ 2,400 อาคารถูกทำลาย

ปัญหาภัยแล้งส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่บนโลก ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลอย่างมากต่อปริมาณฝน  ผลกระทบต่อมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศระยะยาวและการเปลี่ยน แปลงรายปีนั้นสามารถทำให้สภาพสังคมมนุษย์ย่ำแย่ลงได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านสิ่งแวดล้อม

จากข้อมูลขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) จำนวนผู้โยกย้ายถิ่นฐานถูกประมาณการณ์ว่าจะมีตัวเลขเพิ่มขึ้น เนื่อง จากความถี่และความรุนแรงที่มากขึ้นจากมหันตภัยธรรมชาติ การแก่งแย่งและการต่อสู้กันเพื่อทรัพยากรที่เหลือน้อย และการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลซึ่งส่งผลต่อแนวชายฝั่งและพื้นที่อยู่ อาศัย.

(ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง 1.       ไทยรัฐออนไลน์, 2560, Nt4 – เผยอากาศโลกปี 59 ชี้ ภัยธรรมชาติรุนแรง คนย้ายถิ่น ต่อสู้แย่งทรัพยากร [online], Available: https://www.thairath.co.th/content/826225 [2 มกราคม 2560].

Write a comment

eight + 11 =