สถาปัตยกรรมกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วันที่ 24 พฤษภาคม 2559

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กับยุทธศาสตร์การพัฒนา ตอนสถาปัตยกรรมกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กรณีศึกษา : ชุมชนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะของชุมชนผู้มีรายได้น้อยมักจะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีมูลค่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมได้ง่าย พื้นที่มักเป็นแอ่งกระทะ เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำมักท่วมขังนานมากกว่าบริเวณอื่น และสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือนเป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างบ้านไม่สามารถใช้อยู่อาศัยได้ในเวลาน้ำท่วม  ซึ่งในอนาคตปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะรุนแรงมากขึ้น เมื่อฝนตกหนักมักทำให้เกิดน้ำท่วมบ่อยครั้งขึ้น และประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะทำให้ชุมชนผู้มีรายได้น้อยเพิ่มจำนวนมากขึ้นในพื้นที่ที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ ฉะนั้นในอนาคตเป็นที่แน่ชัดว่าชุมชนดังกล่าวจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้นจากภาวะน้ำท่วมที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น ประกอบกับผู้มีรายได้น้อยมีข้อจำกัดในการปรับปรุงบ้าน/ชุมชน ดังนั้นเราจึงควรหาแนวทางการปรับตัวที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดยนำแนวความคิดการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมมาช่วยในการออกแบบปรับปรุงที่อยู่อาศัย แนวคิดที่ว่าคือ แนวคิด “Climate Resilient Architecture” ประกอบไปด้วย 1) Robust Design การออกแบบบ้านให้สามารถอยู่อาศัยและทนสภาพน้ำท่วมได้ 2) Repairable Design การออกแบบบ้านให้สามารถซ่อมแซมได้ง่ายหลังจากเกิดน้ำท่วม 3) Adaptive Design การออกแบบบ้านให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบและใช้พื้นที่ให้สามารถอยู่ได้ในระหว่างน้ำท่วมโดยลงทุนต่ำ และปรับปรุง/ออกแบบผังชุมชนและสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ชาวบ้านสามารถอยู่ได้ในระหว่างน้ำท่วม

เผยแพร่โดย THAILAND ADAPTATION

(www.youtube.com)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, Ct4 – สถาปัตยกรรมกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, [online], Available: https://www.youtube.com/watch?v=dnqsQZzXwq0 [24 พฤษภาคม 2559].

Write a comment

sixteen − six =