ภาวะผู้นำองค์กรเชิงสร้างสรรค์และยุทธศาสตร์เศรษฐกิจยุคโลกร้อน เพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ ในจังหวัดภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย

วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต (2558)

นายจิรวัตร โชคคติวัฒน์ และรองศาสตราจารย์ ดร. ธัญยธรณ์/กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์หลักของดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาภาวะผู้นำองค์กรสร้างสรรค์ และภาวะผู้นำของ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย พัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์และการบริหารจัดการในปัจจุบัน ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยซึ่งกำลังเผชิญกับปัญหาการผลิตการแข่งขันอย่างรุนแรงและการล่มสลาย ของสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้นำและ ผู้บริหารจากทุกภาคส่วนจำนวน 39 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 455 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการเหล่านี้มีความคิดสร้างสรรค์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ สามารถ อยู่รอดและยั่งยืน ด้วยการใช้ยุทธศาสตร์ผสมประสานระหว่างอุตสาหกรรมรถยนต์แบบปกติกับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ยุคโลกร้อน ความพยายามเชิงปฏิรูปจะต้องปรับเปลี่ยนอย่างซื่อสัตย์ ในการบริหารจัดการเชิงวิสัยทัศน์สีเขียว ด้วยความห่วงใยในสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยหวังที่จะลดวิกฤตภาวะโลกร้อนเพื่อรักษาไว้ ซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของโลกอนาคต แบบจำลอง (Model) ของดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้คือ FROM “THE ASPIRING DETROIT OFASIAPRODUCERS” TO “THE GREEN ECO-SOCIAL ENTREPRENEURS” (จาก “ผู้ผลิตที่ใฝ่ฝัน เพื่อจะเป็นดีทรอยท์แห่งเอเชีย” สู่“ผู้ประกอบการผู้เปี่ยมด้วยสามัญสำนึกแห่งสังคมสีเขียวเชิงอนุรักษ์”)

เอกสารอ้างอิง

1.       จิรวัตร.โชคคติวัฒน์ and ธัญยธรณ์/กนลา.สุขพานิช-ขันทปราบ, 2558, “Rt6 – ภาวะผู้นำองค์กรเชิงสร้างสรรค์และยุทธศาสตร์เศรษฐกิจยุคโลกร้อน เพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ ในจังหวัดภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย”, วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, Vol. 11, No. 2, pp. 27-33.

Write a comment

6 + eighteen =