นโยบายและมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานของประเทศไทย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2558)

ชุลีพร วงศ์ปัญญา

บทคัดย่อ

การเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาที่ทั่วโลกและประเทศไทยให้ความสำคัญ สำหรับภาคพลังงานเป็นภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ทำให้ประเทศไทยต้องมีการดำเนินนโยบายและมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งในการศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายและมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ภาคพลังงานของประเทศไทย รวมถึงผลการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และตรวจดูความสัมฤทธิ์ผลของมาตรการ โดยศึกษาจากข้อมูลพลังงานและแผนพัฒนาต่างๆ รวมถึงการดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งในและต่างประเทศ พบว่ามาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานที่เสนอดำเนินการครอบคลุมสาขาการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรม และขนส่ง เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรม และการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในการขนส่ง เป็นต้น ซึ่งแผนแม่บทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593 ได้กำหนดที่เป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและขนส่งให้ได้ร้อยละ 7-20 ในปี พ.ศ. 2564 (เมื่อเทียบกับกรณีปกติ พ.ศ. 2548) สำหรับการตรวจสอบความสัมฤทธิ์ผลของ 2 มาตรการ ได้ว่า มาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 7.731 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี พ.ศ. 2557 และมาตรการใช้เชื้อเพลิวชีวภาพแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4.651 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ในปี พ.ศ. 2557 เมื่อเทียบกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนทางเลือก พ.ศ. 2555-2564 ในปี พ.ศ. 2557 มีเป้าหมายลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 12.412 และ 5.839 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ตามลำดับหรือมีความสัมฤทธิ์ผลจากการดำเนินมาตรการร้อยละ 62.29 และ 78.92 ตามลำดับ

คำสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก๊าซเรือนกระจก นโยบายและมาตรการ ภาคพลังงาน

เอกสารอ้างอิง

1.       ชุลีพร.วงศ์ปัญญา, 2558, Rt3 – นโยบายและมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานของประเทศไทย, เทคโนโลยีการจัดการพลังงาน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Write a comment

three + 7 =