การวิเคราะห์ต้นทุนหน่วยสุดท้ายสำหรับการประหยัดพลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมและอาคารพาณ์ชย์ของประเทศไทย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2557)

เภกา คุณทวีกาณณ์

บทคัดย่อ

บทความนี้นาเสนอการวิเคราะห์ต้นทุนหน่วยสุดท้ายสาหรับการประหยัดพลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม และอาคารพาณิชย์ของประเทศไทย ซึ่งจะใช้ข้อมูลการอนุรักษ์พลังงานในแต่ละเทคโนโลยีปี 2553 เป็นปีฐานในการนามาวิเคราะห์ เพื่อหาศักยภาพของการประหยัดพลังงานโดยใช้ทฤษฏีต้นทุนหน่วยสุดท้าย (Marginal abatement cost: MAC) ทฤษฏีการคานวณทางเศรษฐศาสตร์ และการพยากรณ์ค่าต้นทุนหน่วยสุดท้ายในการลดก๊าซเรือนกระจก ในปี พ.ศ. 2563 และ ปี พ.ศ. 2573 โดยใช้โปรแกรม EView ซึ่งเป็นโปรแกรมทางด้านเศรษฐมิติ ผลจากการศึกษาในปีพ.ศ. 2553 ประกอบด้วยเทคโนโลยี ดังนี้ เทคโนโลยีหม้อไอน้าและหม้อน้ามันร้อน เทคโนโลยีเตาเผา เตาอบ และเตาหลอม เทคโนโลยีมอเตอร์ เทคโนโลยีเครื่องทาความเย็นและระบบปรับอากาศ เครื่องอัดอากาศ และเทคโนโลยีระบบส่องสว่าง จากเทคโนโลยีทั้งหมดได้ค่าต้นทุนหน่วยสุดท้ายสาหรับการลดก๊าซเรือนกระจกในการประหยัดพลังงานอยู่ในช่วง -27,718 ถึง 18,286 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปีพ.ศ. 2563 อยู่ในช่วง -61,600 ถึง 14,877 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และในปีพ.ศ. 2573 อยู่ในช่วง -12,707 ถึง 23,537 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า แสดงให้เห็นว่าต้นทุนหน่วยสุดท้ายในการลดก๊าซเรือนกระจกในแต่ละเทคโนโลยีมีค่าแตกต่างกัน ซึ่งผลที่ได้นี้จะนาไปสู่การตัดสินใจในการเลือกลงทุนการประหยัดพลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกในแต่ละเทคโนโลยี เพื่อเป็นแนวทางในการดาเนินการสนับสนุนจากภาครัฐในการส่งเสริมการประหยัดพลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจก ในภาคอุตสาหกรรม และอาคารพาณิชย์

เอกสารอ้างอิง

1.       เภกา.คุณทวีกาณณ์, 2557, Rt3 – การวิเคราะห์ต้นทุนหน่วยสุดท้ายสาหรับการประหยัดพลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์ของประเทศไทย, สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Write a comment

two × 3 =