การวิเคราะห์ต้นทุนหน่วยสุดท้ายสำหรับการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2557)

ธารินี แสงทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์หาศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานประเภทต่างๆ และศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกในแต่ละเทคโนโลยีเพื่อนาผลที่ได้มาหาต้นทุนหน่วยสุดท้ายสาหรับการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์มูลค่าของรายได้ ณ จุดคุ้มทุน ซึ่งใช้ข้อมูลปี พ.ศ. 2553 เป็นปีฐาน และพยากรณ์ต้นทุนหน่วยสุดท้ายในอนาคต โดยใช้หลักการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ด้วยหลักการทางเศรษฐมิติ ซึ่งจากการศึกษาศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งประกอบด้วย พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้าขนาดเล็กพลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และพลังงานขยะ พบว่า ในปี พ.ศ. 2553 มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า 1,879.80MW และเมื่อศึกษาค่าต้นทุนหน่วยสุดท้ายสาหรับการลดก๊าซเรือนกระจกในแต่ละเทคโนโลยีมีช่วงความแตกต่างที่ค่อนข้างกว้าง โดยในปี พ.ศ. 2553 มีค่าระหว่าง11,296 ถึง 436,850 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ในปี พ.ศ.2563 มีค่าระหว่าง -1,999 ถึง 19,043 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และในปี พ.ศ.2573 มีค่าระหว่าง -9,658 ถึง 3,795 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าและแนวโน้มในอนาคตของต้นทุนหน่วยสุดท้ายในทุกเทคโนโลยีมีค่าลดลง โดยการลดก๊าซเรือนกระจกในแต่ละเทคโนโลยีนั้นมีต้นทุนในการลดที่แตกต่างกัน ขึ้นกับหลายปัจจัยเช่น ต้นทุนตั้งต้น ค่าบารุงรักษา และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการพิจารณาแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกาหนดนโยบายและแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาครัฐควรสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนประเภทที่มีต้นทุนหน่วยสุดท้ายที่ต่าในช่วงระยะแรก เพราะมีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ที่สูง และต้องให้ความสาคัญในเรื่องเงินอุดหนุนเทคโนโลยีที่มีค่าต้นทุนหน่วยสุดท้ายสูง เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ภาคเอกชนให้มีความสนใจในการลงทุน

เอกสารอ้างอิง

1.       ธารินี.แสงทอง, 2557, Rt3 – การวิเคราะห์ต้นทุนหน่วยสุดท้ายสำหรับการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย, สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Write a comment

nineteen + 14 =