การวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์จากโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกคลองหลวง จ.ปทุมธานี ประเทศไทย

วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (2559)

บดินทร์ แสงสว่าง, ถิรวัฒน์ วีรงคเสนีย์, ศิวัช พุลศิลป์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นการหาค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยก และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดจากรถยนต์ที่สัญจรผ่านบริเวณโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกคลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยใช้การรวบรวมข้อมูลจากกิจกรรมต่าง ๆ ภายในโครงการก่อสร้าง และข้อมูลปริมาณรถยนต์ที่สัญจรผ่านบริเวณโครงการก่อสร้าง แล้วนำมาคำนวณหาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดขึ้น ตลอดระยะเวลาการก่อสร้างทั้งสิ้น19 เดือน แบ่งเป็น 3 ขอบเขต คือ ขอบเขตที่ 1 การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กรขอบเขตที่ 2 การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ขอบเขตที่ 3 การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ ผลการวิเคราะห์พบว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์จากขอบเขตที่ 1 มีจำนวน 181.21 ตัน CO2e จากขอบเขตที่ 2 จำนวน 71.92 ตัน CO2e และจากขอบเขตที่ 3 จำนวน 47.85 ตัน CO2e จากข้อมูลปริมาณรถยนต์ พบว่าปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดขึ้นจากไอเสียรถยนต์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกช่วงก่อนการก่อสร้าง 395.66 ตัน CO2e/เดือน ช่วงระหว่างการก่อสร้าง 245.09 ตัน CO2e/เดือน และช่วงหลังการก่อสร้าง 351.14 ตัน CO2e/เดือน นอกจากนี้ยังพบว่า สะพานสามารถลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดจากยานพาหนะได้จาก 395.66 ตัน CO2e/เดือน เป็น 351.14 ตันCO2e/เดือน ลดลง 44.52 ตัน CO2e/เดือน ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ลดลง คิดเป็น 11.25%

คำสำคัญ

คาร์บอนฟุตพริ้นท์; ก๊าซเรือนกระจก; สะพานข้ามแยกคลองหลวง; Carbon footprint; Greenhouse gas; Klong-Luang Flyover

เอกสารอ้างอิง

1.       ธิบดินทร์.แสงสว่าง, ถิรวัฒน์.วีรงคเสนีย์, and ศิวัช.พุลศิลป์, 2559, “Rt2 – การวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์จากโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกคลองหลวง จ.ปทุมธานี ประเทศไทย “, วารสาร มทร. อีสาน (RMUTI Journal), Vol. 9, No. 2.

Write a comment

9 + five =