การประเมินผลประโยชน์ทางพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2560)

ธนาพล ตันติสัตยกุล, พีรพล รัศมีธรรมโชติ และเมฑาพร อุ่ยสกุล

บทคัดย่อ

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเทคโนโลยีที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ประเทศไทยมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในทุกภาคส่วนตามนโยบายการส่งเสริมของรัฐบาล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินผลประโยชน์ทางพลังงาน ผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมในรูปของการลดก๊าซเรือนกระจก และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์จากการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนดาดฟ้าอาคารเรียน จำนวน 17 อาคาร ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ผลการศึกษาสรุปได้ว่าดาดฟ้าอาคารเรียนมีพื้นที่สามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ประมาณ 2.14 MWp ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ทั้งหมดประมาณ 2.77 GWh/ปี หรือ 5.8 % ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ของอาคารเรียนทั้งหมด และสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1,570 tCO2e/ปี เมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์พบว่ามีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ของโครงการมีค่าระหว่าง 8.50 ถึง 8.69 % และมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 10 ปี นอกจากนี้งานวิจัยได้วิเคราะห์ความอ่อนไหว (sensitivity analysis) และวิเคราะห์สถานการณ์ (scenario analysis) ของผลตอบแทนโครงการต่อปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ (1) อายุการใช้งานของระบบ (2) อัตราการเพิ่มของอัตราค่าไฟฟ้า และ (3) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนบริหารจัดการโครงการ 

คำสำคัญ

ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา; ผลประโยชน์ทางพลังงาน; ผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม; ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

เอกสารอ้างอิง

1.       ธนาพล.ตันติสัตยกุล, พีรพล.รัศมีธรรมโชติ, and เมฑาพร.อุ่ยสกุล, 2560, “Rt6 – การประเมินผลประโยชน์ทางพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต”, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, Vol. 25, No. 6.

Write a comment

five × one =