การบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตพลังงาน ใช้ในระดับชุมชนและระดับครัวเรือน: กรณีศึกษา ชุมชนเกาะพะลวย

วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม (2556)

วิสาขา ภู่จินดา, สิริสุดา หนูทิมทอง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อถอดบทเรียนการจัดการพลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียนในชุมชนและครัว เรือน และเสนอแนวทางการวางแผน การบริหารจัดการ และการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน  กรณีศึกษา เกาะพะลวย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน 11 ท่านสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนคณะกรรมการพลังงานและสิ่งแวดล้อมของเกาะพะลวยจำนวน 3 ท่าน แบบสอบถามประชาชนในชุมชน 30 ชุด และการสำรวจการใช้พลังงานหมุนเวียนในชุมชน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการพรรณนาความ ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา

ผลการศึกษา พบว่า เกาะพะลวยมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแส ไฟฟ้าใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้กับตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแปรรูปอาหารทะเลตากแห้งไว้รับประทาน และเพื่อจำหน่ายทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น การสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ไปกักเก็บในถังน้ำแบบหอสูง เพื่อผลิตน้ำประปาใช้ในชุมชน การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม การใช้เตาชีวมวลโดยใช้เศษไม้เป็นเชื้อเพลิงแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม และการเผาโดยใช้เตาเผาถ่าน 200 ลิตร การ ใช้พลังงานชีวมวลในครัวเรือน เช่น ถ่านไม้ที่ผลิตจากเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูง มีการส่งเสริมปลูกพืชพลังงาน ส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลในรถยนต์และเรือประมงพื้น บ้าน ส่งเสริมการใช้หลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงานในครัวเรือน สนับสนุนการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า มีแนวทางการวางแผนการบริหารจัดการ การใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน โดยการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจและประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียนแก่ชาว บ้าน การมีส่วนร่วมในการดำเนินการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานหมุน เวียน และชาวบ้านต้องมีความคิดเห็นที่ตรงกันไม่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับการนำพลังงาน หมุนเวียนมาใช้ประโยชน์ จะทำให้การบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชนและในระดับครัวเรือน ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น

คำสำคัญ

การใช้พลังงานหมุนเวียน;  ชุมชนและครัวเรือน;  เกาะพะลวย

เอกสารอ้างอิง

1.       วิสาขา.ภู่จินดา and สิริสุดา.หนูทิมทอง, 2556, “Rt1 – การบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตพลังงาน ใช้ในระดับชุมชนและระดับครัวเรือน: กรณีศึกษา ชุมชนเกาะพะลวย”, วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, Vol. 9, No. 2.

Write a comment

five × 4 =