การดำเนินการนำร่อง การจ่ายค่าตอบแทนบริการระบบนิเวศ

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกในป่าเอเชีย ประเทศไทย (2557)

ชวพิชญ์ ไวทยการ และสมศักดิ์ สุทรนวภัทร

ความเป็นมา

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกในป่าเอเชียประเทศไทย หรือ The United States Agency for International Development-funded Low-ering Emissions in Asia’s Forests (USAID LEAF) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) มีจุดประสงค์ในการพัฒนากลไกการนาร่องการจ่ายค่าตอบแทนบริการระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Services หรือ PES) ให้เป็นรูปธรรมในพื้นที่นาร่อง ประเทศไทย สืบเนื่องจากการจัดทา แผนการจัดการ “พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า” โดยคณะทางานบริหารจัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑล แม่สา-คอกม้า สานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) และ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกในป่าเอเชียประเทศไทย ซึ่งได้ระบุให้ การจ่ายค่าตอบแทนบริการระบบนิเวศ เป็นหนึ่งในโครงการตามยุทธศาสตร์ในแผนการจัดการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑลอย่างยั่งยืน โดยมีความคาดหวังว่ากลไก PES นี้จะเป็นนวัตกรรม รูปแบบหนึ่งที่จะประยุกต์ใช้ เพื่อการจัดการป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน นอกเหนือจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยแต่ดั้งเดิมซึ่งมุ่งเน้นการจัดการควบคุมจากหน่วยงานภาครัฐเป็นหลัก โดยผนวกการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในพื้นที่ดาเนินงาน เช่น ชุมชนในฐานะผู้ดูแลทรัพยากร และภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ใช้หรือผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพยากร แนวทางนี้อาจจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทาให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ผ่านการเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างกลไกตลาดที่แปลงประโยชน์ จากการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม

ในปัจจุบันนโยบายการพัฒนาด้านต่างๆ ทาให้มีการเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้เป็นแหล่งผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม นาไปสู่การสูญเสียพื้นที่ป่าและบริการของระบบนิเวศป่าไม้ รวมถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ของประเทศไทย ได้พุ่งเป้าไปที่การพัฒนาตามแนวทาง “เศรษฐกิจสีเขียว” (Green Economy) ตามข้อเรียกร้องของ องค์การสหประชาชาติ ซึ่งเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสีเขียวจะสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ และลดปัญหาความยากจนภายใน พ.ศ. 2558

รวมทั้งลดการปลดปล่อยคาร์บอนและการทาลายสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ของประเทศไทย ได้เสนอประเด็นเรื่อง PES ในฐานะที่เป็นการใช้ประโยชน์จากมาตรการการสร้างแรงจูงใจเพื่อการอนุรักษ์ ดังนั้นการนาร่องโครงการ PES ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จะเป็นโอกาสในการทดสอบรูปแบบของนวัตกรรมซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อให้มีการดาเนินการ พัฒนาและปรับปรุง รูปแบบของ PES ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ตลอดจนได้บทสรุปและบทเรียน ซึ่งสามารถนาไปต่อยอดให้เกิดนโยบายที่มุ่งสร้างแรงจูงใจ (incentive-based mechanism) ในการอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง

1.       ชวพิชญ์.ไวทยการ and สมศักดิ์.สุทรนวภัทร, 2557, “Rt5 – การดำเนินการนำร่อง การจ่ายค่าตอบแทนบริการระบบนิเวศ”, โครงการลดก๊าซเรือนกระจกในป่าเอเชีย ประเทศไทย, Vol., No.

Write a comment

seventeen − sixteen =