การจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน

วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม (2559)

 จำลอง โพธิ์บุญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน โดยได้ศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครสมุทรสาคร เทศบาลตำบลเมืองแกลง และองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากรภายในองค์กร ผู้นำชุมชน และประชาชน การสังเกตการณ์ในพื้นที่ และจากเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลได้ประยุกต์การพิจารณา 4 มิติของ Balanced Scorecard ผลการศึกษาพบว่า มิติประสิทธิผล เทศบาลนครสมุทรสาครมีผลการดำเนินงานที่ชัดเจนในด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกร้อน เทศบาลตำบลเมืองแกลงและองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขามมีผลการดำเนินงานที่ชัดเจนในด้านการบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน มิติกลุ่มเป้าหมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 แห่ง ได้รับความร่วมมือและความพึงพอใจในระดับดีจากประชาชน มิติการบริหารจัดการ เทศบาลตำบลเมืองแกลง และเทศบาลนครสมุทรสาครมีการกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการประสานงานกับหน่วยงานอื่นเป็นอย่างดี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 แห่ง มีการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน มิติการเรียนรู้และพัฒนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 แห่ง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร การให้ความรู้แก่ประชาชน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการดำเนินงาน

เอกสารอ้างอิง

1.       จำลอง.โพธิ์บุญ, 2559, “Rt4 – การจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน”, วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, Vol. 12, No. 1.

Write a comment

five × 3 =