การคาดการณ์เบื้องต้นผลกระทบการรุกตัวของความเค็มต่อการเกษตร: กรณีศึกษาสมมติใช้ข้อมูล IPCC ต่อการเพิ่มขึ้น ของระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย

วารสารวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต  (2560)

สุนารี เสือทุ่ง และ สนิท วงษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมทางชลศาสตร์และการคาดการณ์เบื้องต้นผลกระทบการรุกล้ำของความเค็มทั้ง 4 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำท่าจีน และลุ่มน้ำบางปะกง ภายใต้สภาวะภัยแล้ง โดยใช้แบบจำลอง MIKE11 เริ่มต้นจากการจัดทำแบบจำลองทางชลศาสตร์ และการพัดพาและแพร่กระจาย ตลอดจนการประยุกต์ข้อมูลระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลก IPCC ผลการศึกษาพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระที่เหมาะสมทั้ง 4 ลุ่มน้ำอยู่ในช่วง 0.025-0.045 และค่าสัมประสิทธิ์การพัดพาและแพร่กระจายอยู่ในช่วง 100-2,000 ตร.ม./วินาที สำหรับการคาดการณ์เบื้องต้นการรุกล้ำของความเค็มในปี พ.ศ. 2563 และปี พ.ศ. 2643 กรณีศึกษาเหตุการณ์ RCP 2.6 และ 8.5 พบว่า เมื่อระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลก IPCC ปี พ.ศ. 2563 เพิ่มขึ้น 2-4 ม.และ ปี พ.ศ. 2643 เพิ่มขึ้น 38-68 ม. ส่งผลให้ค่าระดับน้ำในแม่น้ำที่จุดเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น 2-5 ซม. และ 69-70 ซม. ตามลำดับ รวมทั้งส่งผลให้ค่าความเค็มเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 0.01-0.08, 0.09-0.96 และ 0.13-1.92 กรัม/ลิตร ตามลำดับ ค่าความเค็มรุกเข้าไปในแม่น้ำทั้ง 4 สายเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2 กม. สรุปได้ว่า เมื่อระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มสูงขึ้นการรุกตัวของความเค็มเข้าไปในแม่น้ำเป็นระยะทางที่ไกลขึ้น สำหรับการเกษตรส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชทางเศรษฐกิจในจังหวัดนนทบุรี ราชบุรี นครปฐม และปราจีนบุรี เช่น ทุเรียน มะพร้าว ลิ้นจี่ มะม่วง และข้าว เป็นต้น ผลการศึกษาเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินพื้นที่เสี่ยงผลกระทบความเค็ม

คำสำคัญ

โครงข่ายลำน้ำ, การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, การรุกตัวความเค็ม, ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น; River Network, Climate Change, Intrusion of Salinity, Sea Level Rise

เอกสารอ้างอิง

1.       สุนารี.เสือทุ่ง and สนิท.วงษา, 2560, “Rt4 – การคาดการณ์เบื้องต้นผลกระทบการรุกตัวของความเค็มต่อการเกษตร: กรณีศึกษาสมมติใช้ข้อมูล Ipcc ต่อการเพิ่มขึ้น ของระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย”, วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, Vol. 7, No. 1.

Write a comment

11 + 5 =